ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติหลวงปู่แสง วัดป่าช้า อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี  (อ่าน 25152 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฝุ่นดิน

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 2
  • กระทู้: 668
  • พลังน้ำใจ 2
  • ฝุ่นดินท้องถิ่นนิยม 084-7208460
       มีเรื่องเล่าเกี่วกับหลวงปู่แสงว่าเมื่อท่านฉันเช้าแล้ว ท่านก็มักจะเข้ากุฏิปิดประตูเงียบ บรรดาลูกศิษ์ก็เกิดความสงสัยว่าหลวงปู่ท่านเข้าไปทำอะไร จึงพยามแอบดูกันต่างสังเกตเห็นว่าเมื่อหลวงปู่ปิดประตูกุฏิไม่นานนักก็เห็นเป็นไก่ป่าสีเผือกเกาะอยู่ตรงขอบหน้าต่างกุฏิท่านแล้วก็บินเข้าไปในป่า  เมื่อเวลาบ่ายคล้อยจนเกือบเย็นไก่เผือกจึงบินกลับมาเข้ากุฏิ หลังจากไก่เผือกบินเข้ากุฏิไม่นานก็เป็นเวลาเดียวกันที่หลวงปู่ท่านมักจะออกมาสรงน้ำในช่วงนั้นพอดีทุกคราวไป
หลวงปู่แสงเป็นพระเถราจารย์ยุคเก่าที่มีวัตรปฏิบัติและประวัติความเป็นมาที่มีความน่าสนใจสมควรแก่การศึกษาสืบค้นอีกรูปหนึ่งของจังหวัดอุทัยธานี เสียดายที่รายละเอียดต่างๆยังไม่มีการเรียบเรียงขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรไว้บ้างเลย ทราบแต่เพียงคร่าวๆว่า ท่านเป็นพระที่มีวิทยาคมสูงสามารถเสกกะลาครอบช้าง เสกผ้าอาบเป็นกระต่าย เสกใบไม้เป็นตัวสัตว์ต่างๆได้ อภิญญาทำนองนี้คล้ายกันกับประวัติของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่ศุขท่านมรณะภาพปี พ.ศ.๒๔๖๖ แต่หลวงปู่แสงมรณะภาพในปี พ.ศ.๒๔๖๕ ถือได้ว่าเป็นพระเถราจารย์ในยุคเดียวกัน ซึ่งหลวงปู่แสงท่านอาจจะมีอาวุโสสูงกว่าก็เป็นได้ เมื่อประมวลจากเรื่องเล่าและหลักฐานบางประการแล้ว จึงนึกเอาได้ว่าหลวงปู่แสงท่านนี้น่าจะเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ต้นสายวิชาองค์สำคัญอีกท่านหนึ่งของสายอุทัยธานี
อีกทั้งวัดป่าช้าเองก็เป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของเมืองอุทัยเก่าซึ่งเคยได้รับการสถาปนาเป็นหัวเมืองหน้าด่านมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา แถมยังมีปูชนียวัตถุและปูชนียสถานที่พอเป็นเครื่องสันนิษฐานได้ถึงความรุ่งเรืองอลังการในอดีต ปูชนียวัตถุประการหนึ่งนั่นก็คือตำราสมุดข่อยทั้งข่อยดำและข่อยขาว ซึ่งจากคำบอกเล่าของชาวบ้านทำให้ทราบว่าตำรับตำราของวัดป่าช้ามีอยู่มากมาย แม้หลายๆส่วนจะถูกเคลื่อนย้ายไปที่อื่นเป็นจำนวนมากแล้วก็ตาม เช่นที่เคลื่อนย้ายไปที่วัดห้วยรอบนั่นก็เป็นเล่มเกวียนๆเลยทีเดียว ได้ลองติดตามสอบถามสมภารวัดห้วยรอบดูก็ปรากฎว่ากระจัดกระจายออกไปไม่เหลือให้เห็นเสียแล้ว นี้ยังไม่ได้รวมที่อื่นๆอีกซึ่งไม่ทราบว่ามากเท่าใดและไปอยู่ที่ใดบ้าง ส่วนที่หลงเหลืออยู่ที่วัดนั้นภายหลังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นของหลวงเรียบร้อยแล้ว  
ส่วนศาสนสถานนั้นหมายถึงเจดีย์ลอมฟางศิลปะแบบอยุธาตอนต้น ซึ่งในปัจจุบันพังทลายร่อยหรอจนไม่เหลือซากให้เห็นเสียแล้ว ภายในเจดีย์มีพระพิมพ์สมัยอยุธยาบรรจุอยู่มากมายหลายพิมพ์เช่น หลวงพ่อโต บางกระทิง ขุนแผนบ้านกร่าง ขุนไกร และพระแผง เป็นต้น จากหลักฐานดังกล่าวจึงพอสันนิษฐานได้ว่าเดิมทีคงเป็นวัดเก่าแก่และคงเป็นสำนักเรียนที่อาจจะแทบถือได้ว่าเป็นเสมือนสำนักตรรกศิลาแห่งหนึ่งในหัวเมืองนี้เลยทีเดียว
   มีเรื่องเล่าว่าในสมัยนั้นมีพ่อค้าควายชาวมอญอยู่คนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้มีคาถาอาคมและเป็นพ่อค้าควายรายใหญ่มีฐานะล่ำซำ ด้วยปริมาณควายที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เหลือกำลังที่จะใช้กำลังคนดูแลได้ทั่วถึง พ่อค้าควายผู้นี้จึงใช้กุมารเลี้ยง และดูแลควายแทน รวมไปถึงการป้องกันขโมยขโจรที่มีอยู่มากในสมัยนั้น แม้ว่าควายในบริเวณใกล้เคียงจะถูกพวกขโมยลักครั้งแล้วครั้งเล่าแต่ควายของพ่อค้าควายผู้นี้ไม่มีหายซักกะตัว โจรรายไหนเข้ามาทำเกาะแกะเป็นอันต้องเจอดีเล่นเอาวิ่งหนีกระเจิงทุกรายไป ชาวบ้านต่างรู้จักกิตติศัพท์ความเฮี้ยนของกุมารตนนี้ดีในนาม “กุมารโนนทอง”
   ต่อมาเมื่อพ่อค้าควายผู้นี้เสียชีวิตลง จึงไม่มีใครควบคุมกุมารโนนทองตนนี้ไว้ได้ และเที่ยวไปก่อความวุ่นวายหลอกหลอนรบกวนชาวบ้านจนอยู่กันไม่เป็นสุข ในที่สุดเรื่องก็ทราบถึงหลวงปู่ ท่านจึงทำการกำหราบแล้วนำรูปกุมารนั้นมาอยู่กับท่าน หลังจากนั้นกุมารโนนทองก็เลิกเกรกมะเหรกเกเรไม่รังควาญชาวบ้านอีกเลย  ทั้งยังช่วยเป็นกำลังสำคัญในการรับใช้และสนองงานหลวงปู่ด้วยดีเสมอมา
   แม้ในเหรียญของหลวงปู่ที่ทางวัดจัดสร้างขึ้นภายหลังในราวๆปี ๒๕๐๙ กัยังมีรูปกุมารนอนโนนทองตนนี้นอนอยู่ด้านล่าง ในช่วงนั้นมีพระรูปหนึ่งนอนจำวัดอยู่กำลังเคลิ้มๆปรากฏว่าเห็นกุมารเหาะเข้ามาทางหน้าต่างรูปร่างสูงใหญ่และพูดสำเนียงแปลกๆคล้ายชาวมอญ พระรูปนั้นถามว่ามาจากไหน กุมารตนนั้นตอบว่า ก็มาจากเหรียญนั่นแหละ พร้อมกับชี้มือไปที่กองเหรียญ เหรียญรุ่นนี้จึงเป็นเหรียญขลังมากประสบการณ์อีกเหรียญหนึ่งแม้จะเป็นเหรียญที่สร้างขึ้นภายหลังก็ตาม
หลวงปู่ท่านมีช้างดออยู่เชือกหนึ่งชาวบ้านเรีกกันว่า “ไอ้ดอ” เจ้าสีดอถือได้ว่าเป็นช้างคู่บุญคู่บารมีของหลวงปู่ แถมยังเป็นช้างแสนรู้ราวกับว่ามันฟังภาษามนุษย์เข้าใจ ความแสนรู้ของเจ้าดอนี้เล่ากันว่าเมื่อหลวงปู่ท่านจะไปไหน ท่านก็จะบอกจุดหมายปลายทางให้กับเจ้าดอ ต่อจากนั้นก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าดอซึ่งมันสามารถพาหลวงปู่ไปถึงจุดหมายปลายทางได้ตามความประสงค์ของหลวงปู่ โดยที่ไม่ต้องมามัวบังคับซ้ายขวาแต่อย่างไรเลย เพียงแค่หลวงปู่บอกความประสงค์ต่อมันเท่านั้น หลังจากนั้นแล้วหลวงปู่จะนอนหลับเสียก็ได้เพราะเมื่อถึงจุดหมายแล้วเจ้าดอมันก็จะใช้งวงปลุกหลวงปู่เอง
   เจ้าดอมันรักและเคารพหลวงปู่มาก เมื่อมันรู้ว่าหลวงปู่มรณะภาพ มันก็เสียใจมากสังเกตได้ว่าจะมีอาการซึมเศร้าลงไปอย่างเห็นได้ชัด และมีน้ำตาไหลพรากออกมาอยู่ตลอดเวลา ไม่ยอมกินอาหารใดใดเลย เมื่อวันที่ทำการเผาศพหลวงปู่เจ้าดอมันยังได้รับใช้หลวงปู่จนวาระสุดท้าย ด้วยการแห่ศพหลวงปู่ก่อนทำการฌาปนกิจ ในครั้งนั้นมันจะไม่ยอมให้เอาศพหลวงปู่ลงจากหลังมันด้วยซ้ำ ต้องปะเหลาะประโลมวิงวอนกันต่างๆนานากว่าจะยอมได้ เมื่อเสร็จงานศพหลวงปู่แล้วเจ้าดอก็ตรอมใจตายตามหลวงปู่ไปอย่างน่าสลดใจ

ออฟไลน์ ฝุ่นดิน

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 2
  • กระทู้: 668
  • พลังน้ำใจ 2
  • ฝุ่นดินท้องถิ่นนิยม 084-7208460
Re: ประวัติหลวงปู่แสง วัดป่าช้า อ.หนอง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 03, 2011, 07:38:57 pm »
    รูปนี้ผู้เขียนพอใจว่าน่าจะเป็นภาพถ่ายในวัยหนุ่มของหลวงปู่แสง ได้พิจารณาจากเค้าโครงใบหน้า สรีระ ท่าทางประเด็นหนึ่ง พิจารณาเครืื่องประกอบฉากซึ่งเครื่องประกอบฉากในลักษณะนี้ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของพระในแถบจังหวัดอุทัยได้ประการหนึ่ง ส่วนเครื่องประกอบฉากแต่ละชิ้นนั้นมากน้อยลดหลั่นกันไปไม่เท่ากัน และได้สอบถามจากผู้ที่คลุกคลีในแวดวงภาพถ่ายแล้วก็เห็นตรงกันว่าไม่เคยพบเครื่องประกอบฉาก ในลักษณะนี้ในพระจังหวัดอื่นๆ และมีความเห็นว่าน่าจะเป็นวัฒนธรรมการจัดเครื่องประกอบฉากของร้านหุยกิมฉ่อยฯตลาดโกรกพระนี้อีกประเด็นหนึ่ง   เครื่องประกอบภาพในลักษณะเดียวกันนี้ ยังพบในภาพถ่ายของหลวงพ่อจัน วัดโบสถ์ หลวงพ่อใจ วัดทุ่งแก้ว หลวงพ่อสุข วัดหนองสรวง(หนองขุนชาติ) ภาพตัดต่อหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ภาพตัดต่อหลวงพ่อจั่น วัดท่าโพ ส่วนผ้ากราบนั้นนอกจากจะตรงกับที่ปรากฎในภาพถ่ายของหลวงพ่อจัน วัดโบสถ์ และหลวงพ่อสุข วัดหนองสรวงแล้ว ยังพบในกำปั่นเหล็กของหลวงพ่ออ่ำ วัดตลุก ชัยนาทอีกด้วย เมื่อพยายามแกะตัวอักษรที่ประทับอยู่กับผ้ากราบที่พาดอยู่บนผ้าสังฆาฎินั้น ได้ใจความว่า " ทรงพระราชกุศล ทรงพระราชอุทิศพระมหาบุญ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พาหุรัดมณีมัย ประไพพรรณวิจิตรนริศราชกุมาร งานพระเมรุท้องสนามหลวง ปีกุนนพศก ศักราช ๑๒๔๙ " (ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.๒๔๓๐)

ออฟไลน์ ฝุ่นดิน

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 2
  • กระทู้: 668
  • พลังน้ำใจ 2
  • ฝุ่นดินท้องถิ่นนิยม 084-7208460
เปรียบเทียบกับภาพถ่ายขนาดห้อยคอ

ออฟไลน์ ฝุ่นดิน

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 2
  • กระทู้: 668
  • พลังน้ำใจ 2
  • ฝุ่นดินท้องถิ่นนิยม 084-7208460
เที่ยวชมวัตถุมงคลพระท้องถิ่นสายอุทัย+ชัยนาท โดยเฉพาะหลวงพ่อสด วัดหนองสะแกได้ตามลิงค์นี้ครับ
http://www.web-pra.com/Shop/foondin

ออฟไลน์ sivasung

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 2
  • กระทู้: 47
  • พลังน้ำใจ 2
  • เกียรติยศย่อมเกิดจากการกระทำที่สุจริต
นับถือมากๆครับ  สำหรับหลวงปู่แสง  ท่านร่วมสมัยกับหลวงปู่ศุข (วัดปากคลองฯ) เลยหรอครับเนี้ย  ดีใจจังผมมีครับรูปถ่ายของหลวงปู่แสงรุ่นที่ทันท่านครับ  โชคดีจริงๆเกือบจะให้เพื่อนไปซะแล้วดีที่เพื่อนเปลี่ยนใจเอาองค์อื่น

กระดานสนทนาเว็บไซต์ ศิษย์หลวงพ่อกวย


 


Facebook Comments