ผู้เขียน หัวข้อ: ยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า พระยันต์หลังเหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม  (อ่าน 66566 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ maha

  • เยธัมมา เหตุปัปภวา เตสังเหตุ ตถาคโต เตสัญจะโย นิโรโธจะ เอวังวาที มหาสมโณติ
  • สมาชิก
  • ***
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 137
  • พลังน้ำใจ 0
คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า มีอีกชื่อหนึ่งว่า อิติปิโสเรื่อนเตี้ย
เคยสงสัยเหมือนกันว่าทำไมเขาถึงเรียกชื่อแบบนี้
บังเอิญไปเจอบทความท่อนหนึ่งในหนังสือรายปักษ์
ผมเลยเอามาลงให้อ่านเพิ่มเติมครับ
 คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ยนี้ เป็นคาถาที่หวังผลทางด้านสมานแฉันท์
หรือใช้ทำให้คนที่กระด้างกระเดื่อง เห็นผิดเป็นชอบยอมลดทิฐิมานะลงได้
 ขนาดที่ว่าทำให้หลังคาเรือนเตี้ยต่ำลง เพื่อให้คนที่มีมานะทิฐิไม่ยอมก้มหัวให้ใคร 
เมื่อเดินเข้าเรือนเจ้าของบ้านที่ใช้คาถานี้ ต้องยอมก้มหัวลง ไม่สามารถเดินยืดหัวตัวตรงได้
เพราะไม่เช่นนั้น จะต้องชนกับขื่อบ้าน จึงเหมือนเป็นการบังคับให้ทำความเคารพเจ้าบ้านไปในตัว
 ดังตัวอย่างพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จยุโรป หลวงปู่เอี่ยมก็ให้ใช้มนต์บทนี้ปราบม้าพยศ
พระคาถานี้เข้าใจว่าคงมีใช้กันมานานแล้ว แต่ที่ มีหลักฐานที่สามารถสืบสายวิชาเห็นได้ชัดๆ
ก็คือ สมเด็จโต เพราะเป็นพระคาถาที่ท่านลงในสมุดขาว ของท่านดังจะเห็นได้จากผ้ายันต์ปี2500
ของวัดกัลยา ก็คัดลอกมาจากสมุดขาวนี้ อีกรูปที่มีหลักฐานแน่นอนว่าใช้พระคาถานี้ หลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง
  ยุคต่อมาก็คือสายวัดพระปรางค์หลวงปู่ศรี และถ่ายทอดสู่หลวงพ่อกวยครับ 

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้"

ออฟไลน์ needful

  • สมาชิก
  • ****
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 306
  • พลังน้ำใจ 0
คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า มีอีกชื่อหนึ่งว่า อิติปิโสเรื่อนเตี้ย
เคยสงสัยเหมือนกันว่าทำไมเขาถึงเรียกชื่อแบบนี้
บังเอิญไปเจอบทความท่อนหนึ่งในหนังสือรายปักษ์
ผมเลยเอามาลงให้อ่านเพิ่มเติมครับ
 คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ยนี้ เป็นคาถาที่หวังผลทางด้านสมานแฉันท์
หรือใช้ทำให้คนที่กระด้างกระเดื่อง เห็นผิดเป็นชอบยอมลดทิฐิมานะลงได้
 ขนาดที่ว่าทำให้หลังคาเรือนเตี้ยต่ำลง เพื่อให้คนที่มีมานะทิฐิไม่ยอมก้มหัวให้ใคร 
เมื่อเดินเข้าเรือนเจ้าของบ้านที่ใช้คาถานี้ ต้องยอมก้มหัวลง ไม่สามารถเดินยืดหัวตัวตรงได้
เพราะไม่เช่นนั้น จะต้องชนกับขื่อบ้าน จึงเหมือนเป็นการบังคับให้ทำความเคารพเจ้าบ้านไปในตัว
 ดังตัวอย่างพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จยุโรป หลวงปู่เอี่ยมก็ให้ใช้มนต์บทนี้ปราบม้าพยศ
พระคาถานี้เข้าใจว่าคงมีใช้กันมานานแล้ว แต่ที่ มีหลักฐานที่สามารถสืบสายวิชาเห็นได้ชัดๆ
ก็คือ สมเด็จโต เพราะเป็นพระคาถาที่ท่านลงในสมุดขาว ของท่านดังจะเห็นได้จากผ้ายันต์ปี2500
ของวัดกัลยา ก็คัดลอกมาจากสมุดขาวนี้ อีกรูปที่มีหลักฐานแน่นอนว่าใช้พระคาถานี้ หลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง
  ยุคต่อมาก็คือสายวัดพระปรางค์หลวงปู่ศรี และถ่ายทอดสู่หลวงพ่อกวยครับ 



มีบทความเต็มๆมั๊ยครับ ศิษย์พี่ จะได้ศึกษาบ้างครับ เรื่องประวัติศาสตร์นี่ น่าสนใจครับ  ถ้ามี e-mail มาให้หน่อยนะครับ ;D
สิ่งที่น่ากลัวคือ
ความเห็น ที่กลายเป็น ความเชื่อ
ความเชื่อ ที่กลายเป็น ความจริง
และ ความจริงที่แท้จริง ถูกปกปิดให้ลืมไป

ออฟไลน์ ex_sanghee

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 43
  • พลังน้ำใจ 0
น่าสนใจมากครับพี่ ผมก็ใช้คาถานี้อยู่ทุกวัน ถ้ามีแบบเต็มๆก้ดีนะครับ อยากศึกษา
เมื่อใดเห็นทุกข์ เมื่อนั้นเห็นธรรม

ออฟไลน์ lawer

  • สมาชิก
  • *****
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 646
  • พลังน้ำใจ 0
เลข ๙ เป็นการย่อ หัวใจพระพุทธคุณ
พระพุทธคุณ 9 ประการนี้ ย่อเหลือพระคุณละ 1 อักษร ดังนี้ คือ.-

1)อะ (อรหัง)-เป็นพระอรหันต์ ไกลจากกิเลส.....

2)สัง(สัมมา สัมพุทโธ)-ตรัสรู้ความจริงด้วยพระองค์เอง โดยถูกต้อง.......

3)วิ(วิชชา จรณะสัมปันโน)-ทรงสมบูรณืด้วยวิชาสมบัติและจริยาสมบัติ........

4)สุ(สุคโต)-เสด็จไปดี......

5)โล(โลกวิทู)-ทรงรู้เท่าทันโลกทั้ง 3..........

6)ปุ(อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ)-ทรงเป็นสารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้ ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน.......

7)สะ(สัตถา เทวมนุสสานัง)-ทรงเป็นครูสอนทั้งเทวดาและมนุษย์........

8)พุ(พุทโธ)-ทรงเบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใส.......

9)ภะ(ภควา)-เป็นผู้ทรงแจกพระอมตะมรดก.......

เลข ๗ เป็นการย่อ หัวใจพระธรรม๗คัมภีร์ คือ
          สัง มาจาก พระสังคีณี ( กุสลา ธมฺมา....... )
           วิ            พระวิภังค์ ( ปัญจักขันธา รูปักขันโธ .....)
           ธา           พระธาตุกถา   ( สังคะโห อะสังคะโห......)
           ปุ             พระปุคคะละปัญญัตติ  (ฉะ ปัญญัตติโย ขันธะปัญญัติ ......)
           กะ           พระกถาวัตถุ(ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัต...)
           ยะ           พระยมก ( เยเกจิ กุสลาธมฺมา....... )
           ปะ           พระมหาปัฏฐาน ( เหตุปัจจโย....... อวิคจปัจจโย )

ออฟไลน์ ฝุ่นดิน

  • สมาชิก
  • *****
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 2
  • กระทู้: 668
  • พลังน้ำใจ 2
  • ฝุ่นดินท้องถิ่นนิยม 084-7208460
     กุศโลบายของโบราณจารย์ในอดีตช่างแยบคายยิ่งนัก ไม่ว่าจะเป็นคาถา อักขระ เลขยันต์ หรือแม้แต่เครื่องรางของขลัง ล้วนแฝงไว้ด้วยนัยยะแห่งพระสัทธรรมแทบทั้งสิ้น
       อักขระที่หมุนเวียนไปตามช่องตารางของยันต์มงกุฏพระพุทธเจ้า เสมือนหนึ่งการหมุนวนอยู่ในสังสารวัฏฏ์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ตัว"อิ"ที่อยู่ตรงกลางเปรียบดัง ธาตุรู้ ไม่ดับไม่ตายเป็น"อมตธรรม" นี่แหละจึงว่าโบราณจารย์ในกาลก่อนนั้นมิได้มุ่งแต่จะให้เห็นผลทางด้านอิทธิฤทธิ์แต่เพียงถ่ายเดียว แม้พระสัทธรรมที่ลึกซึ้งลงไปก็ได้แสดงไว้อย่างครบถ้วน
      ส่วนตัวเลขที่รายล้อมดวงยันต์อยู่นั้นเป็นการผูกกลบทตามแบบฉบับ"ตรีนิสิงเห"อีกสัมทับหนึ่ง ซึ่งสังเกตได้ว่าตำแหน่งของเลข 5 จะกระจายอยู่ทั้ง 4 ตำแหน่งเป็น 4 มุมแบบสี่เหลี่ยมจตุรัส
        และระหว่างมุมทั้ง 4 นั้นจะบวกกันแล้วได้เท่ากับ 10 เสมอ เช่น 3+7,4+6,1+9,2+8 (สามารถเปรียบเทียบได้กับยันต์ตรีนิสิงเหแบบสี่เหลี่ยมซึ่งมี 4 มุมแต่ละมุมแบ่งเป็น 2 ช่อง และทุกๆมุมจะบวกได้เท่ากับ 10 เสมอเช่นเดียวกัน
      ส่วนเลข 1,2,3,4นั้นก็จะกระจายออกเป็น 4 ทิศคือ ด้านล่าง-ด้านซ้าย+ด้านบน+ด้านขวา เป็นลักษณะเหลี่ยมขนมเปียกปูนตัดกันกับสี่เหลี่ยมจตุรัสที่ประกอบไปด้วยเลข 5 ดังกล่าวไปแล้วข้างต้น จึงรวมทั้งหมดเป็น 8 มุมครบ 8 ทิศหรือสวัสดิกะ
       และระหว่างเลข 1 ถึงเลข 2 นั้นจะบวกกันแล้วได้เท่ากับ 14
            ระหว่างเลข 2 ถึงเลข 3 นั้นจะบวกกันแล้วได้เท่ากับ 13
          ระหว่างเลข 3 ถึงเลข 4 นั้นจะบวกกันแล้วได้เท่ากับ 12
          ระหว่างเลข 4 ถึงเลข 1 นั้นจะบวกกันแล้วได้เท่ากับ 11 รวมกันทั้งสิ้นได้ 50
     ทั้งหมดต่างมีความสัมพัทธ์ สัมผัส สอดคล้อง กันอย่างลงตัวและซ่อนไว้ด้วยธรรมปริศนาอันล้ำลึก กล่าวถึง ตรีนิสิงเหนี้เป็นอีกหนึ่งวิชาที่ใช้ในการลบผงซึ่งล้วนมีความสลับซับซ้อนและประณีตละเอียดอ่อนยิ่งนัก สูตรตรีนิสิงเหนี้ยังสามารถถอดกลบท ยักย้ายถ่ายเทให้เป็นไปได้อีกหลายกลบทแต่แม้ในที่สุดแล้วก็จบลงที่ สูญญังนิพพานังปรมังสูญ ทั้งสิ้น หากพิจารณาในแง่ธรรมมะแล้วไซร้จักได้เห็นพระสัทธรรมตามกฎไตรลักษณ์อย่างครบถ้วนกระบวนความ คือนับตั้งแต่การเกิดก่อ ต่อตั้ง ปรวนแปร แลดับสูญ เข้ากับทุกขัง อนิจจัง อนัตตาได้อย่างไม่ผิดเพี้ยนไปไหน โบราณจารย์จึงกำหนดวิชาตรีนิสิงเห ปถมัง มหาราช อิทธิเจ เหล่านี้เป็นกองกรรมฐานให้บัณฑิตผู้สนใจได้เจริญสมาธิ พากเพียร ไตร่ตรองตราบจนบรรลุถึงเจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติ เป็นที่สุดแห่งกองกรรมฐานแล
      เสริมอีกนิดว่าเลข 5 นั้นไม่ได้หมายถึง นะโมพุทธายะ อย่างเดียวแต่ยังเป็นได้อีกถึง 4 สถานคือ
      1.ปา อะ กา มุ สุ (ศีล 5) ปาณา อทินนา กาเม มุสา สุรา
      2.เก โล นะ ทะ ตะ (กรรมฐาน 5) เกษา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ
      3.รู เว สะ สัง วิ (ขันธ์ 5) รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      4.โส สะ อะ อะ นิ (อริยะ 5 ) โสดา สกิทา อนาคา อรหันต์ นิพพาน
และอื่นๆอีกได้ตามแต่คติแห่งคณาจารย์นั้นๆ
 

กระดานสนทนาเว็บไซต์ ศิษย์หลวงพ่อกวย


 


Facebook Comments