ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติหลวงปู่เย็นกับหุ่นพยนต์ พ.แก้วสารพัดนึก  (อ่าน 38305 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ สำนักจันทร์

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 18
  • กระทู้: 4819
  • พลังน้ำใจ 20
  • สำนักจันทร์ ๐ ๘ ๑ ๔ ๘ ๒ ๔ ๔ ๔ ๘
ข้อมูลส่วนใหญ่คัดมาจากหนังสือโลกทิพย์และผมเพิ่มเติมในบางส่วนเพื่อความสมบูรณ์ในเนื้อหา ดังนี้ครับ
     ชาติภูมิ  หลวงปู่เย็น ทานรโต เป็นชาวเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยกำเนิดท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ เดือนสี่ ปีขาล พุทธศักราช ๒๔๔๕ เป้นบุตรคนแรกในจำนวนพี่น้อง ๖ คน ของ นายถิ่น นางแซ่ม ศรีศาสตร์ บิดามารดาของท่านมีอาชีพทำนา ตัวท่านเองนั้นนอกจากจะช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพกสิกรรมแล้ว ยังมีฝีมือในเชิงช่างหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นช่างไม้ ช่างปูน แม้กระทั้งการออกแบบบ้านเรือน หรือวัดวาอารามตลอดจนสลักลวดลายท่านก็ทำได้และฝีมือดีมากเสียด้วย จนกระทั่งอายุครบบวชหลวงปู่เย็นได้ทำการอุปสมบทตามประเพณีอันดีงามของชายไทยทั่วไป ณ วัดเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งอยู่ใกล้บ้านของท่าน หลังจากได้เป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาสมบูรณ์แล้ว ท่านได้ย้ายไปอยู่วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัด ธนบุรี (ในสมัยนั้น) กับพระที่เป็นญาติของท่านรูปหนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ภาษาบาลี และภาษาขอม จนกระทั่งสอบได้นักธรรมเอก และเปรียญ ๔ ประโยค ระหว่างนั้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ในฐานะนักเทศน์ฝีปากเอก ที่ใดมีงานมงคลต่างๆ หรือแม้กระทั่งงานศพ หากประชาชนรู้ว่าได้นิมนต์มหาเย็นมาเทศน์ด้วยไม่ว่าอยู่ใกล้อยู่ไกลก็หลั่งไหลมาฟังเทศน์กันอย่างล้นหลาม ธุดงค์ลึกลับ  สมัยที่หลวงปู่เย็นยังจำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังฯ นั้น วันหนึ่งท่านเห็นพระธุดงค์รูปหนึ่งเดินแบกกลดสะพายบาตรผ่านมา เกิดความรู้สึกเลื่อมใสในบุคลิกของท่าน จึงเข้าไปกราบนิมนต์ขอให้พระธุดงค์เข้ามาพักที่กุฎิก่อน และให้การต้อนรับสู้อย่างแข็งขัน ระหว่างการสนทนาตอนหนึ่ง หลวงปู่เย็นได้ขอให้พระธุดงค์เล่าถึงการเดินธุดงค์ของท่าน พระธุดงค์ก็มีเมตตาเล่าถึงการออกธุดงค์ไปยังเมืองลาว ต้องเดินผ่านเข้าไปยังหมู่บ้านหนึ่งที่มีชื่อว่า “บ้านแก้ว” ซึ่งเป็นที่เลื่องลือในเรื่องยาพิษยาสั่ง คนแปลกหน้าผ่านเข้าผ่านไปในหมู่บ้านเป็นต้องถูกลองยาเสมอ น้อยคนนักจะออกมาได้อย่างปลอดภัย หลวงปู่เย็นได้ฟังดังนั้นเกิดความสงสัยจึงถามท่านว่า “ท่านไม่กลัวเขาทำให้ตายหรือ” “เขาทำให้ตาย กินข้าวได้เราไม่กลัว” พระธุดงค์ตอบเป็นปริศนา หลวงปู่เย็นแม้ว่าจะไม่เข้าใจคำตอบกระจ่างนัก แต่ก็มิได้ซักถามต่อเมื่อได้สนทนาต่อไปเรื่อยๆ จึงรู้ว่าพระธุดงค์รูปนั้นไม่ใช่พระธรรมดา แต่เป็นพระอภิญญาที่เรืองวิทยาคมยิ่งรูปหนึ่ง จึงไม่เกรงกลัวต่ออะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจากสัตว์ร้าย ไข้ป่า หรือแม้กระทั่งคน ท่านได้ธุดงค์มาแล้วแทบจะทั่วแผ่นดินไทยยังไปถึงเมือง ญวน เขมร ลาว และพม่า ก่อนจะจากกัน พระธุดงค์ได้มอบของวิเศษอย่างหนึ่งไว้ให้หลวงปู่เย็นบอกว่าเป็นแก้วสารพัดนึก สามารถบันดาลให้เป็นไปตามปรารถนาได้ทุกประการ
เข้าชมวัตถุมงคลของ สำนักจันทร์ ได้ที่
    http://sitluangporguay.com/shop/data/store.php?user_id=73
    http://www.thaprachan.com/shop.php?shop_id=2282

ออฟไลน์ สำนักจันทร์

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 18
  • กระทู้: 4819
  • พลังน้ำใจ 20
  • สำนักจันทร์ ๐ ๘ ๑ ๔ ๘ ๒ ๔ ๔ ๔ ๘
  แก้วสารพัดนึก พระธุดงค์รูปนั้นเอื้อมมือหยิบก้านธูปที่หน้าหิ้งพระมาก้านหนึ่งแล้วดัดให้เป็นรูปตัว “พ” ต่อจากนั้นก็หยิบสายสิญจน์มาพันผูกก้านธูปตัว “พ”นั้นหลายๆ รอบพร้อมกับร่ายมนตร์กำกับตัว “พ” ต่อจากนั้นก็ยื่นให้หลวงปู่เย็น และได้กำชับว่าตัว “พ” นี้คือแก้วสารพัดนึกหมายถึงการนึกอยากได้หรือต้องการอยากได้อะไรก็จะได้ดังใจปรารถนา ผู้ใดได้ไว้ครอบครองตั้งมั่นในศีลธรรม ในความดี ก็จะได้สมใจนึก ตัวพอ “พ” นี้ เป็นของวิเศษ อันเกิดจากพระวาจาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสไว้ที่โคนต้นโพธิ์ “พอ พอ แล้วใครไม่ต้องเป็นครูสอนเราแล้ว” พอเรารู้ในธรรมวินัยนี้ว่าเป็นของที่เลิศประเสริฐยิ่งนัก พระพุทธก็ดี พระธรรมก็ดี พระสงฆ์ก็ดี เป็นของดีที่วิเศษ ยิ่งกว่าสิ่งใดๆ ในโลกนี้ ดังคำบาลีว่า “ยังกิญจิ ระตะนังโลเก วิชชะติวิวิธัง ปุถุระตะนัง พุทธธะสะมัง นัตถิตัสสะมา โสตถี ภะวันตุเม” แปลว่า แก้วแหวนเงินทอง ทรัพย์สินใดๆ ในโลกนี้ มนุษย์หรือปุถุชนจะไขว่คว้าหามาได้โดยไม่ยากแต่ของวิเศษ ดีเลิศ ประเสริฐ ยิ่งกว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีอีกแล้วที่ดีกว่านี้ พระธุดงค์รูปนั้นท่านได้อธิบายถึงสรรพคุณและถ่ายทอดวิชาสร้างตัวอักษร “พ” ให้กับพระเย็น (หลวงปู่เย็น) จนหมดสิ้น หลวงปู่เย็นท่านจึงได้ก้มกราบพระธุดงค์รูปนั้น แต่พอครั้นเงยหน้าขึ้นมาปรากฎว่า พระธุดงค์รูปนั้นได้หายไปอย่างไรร่องรอย นับว่าน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง “ท่านบอกว่าชื่ออะไรก้ไม่รู้แต่จำหน้าท่านได้แม่นยำ มารู้ที่หลังว่าเป็นใครเมื่อได้เห็นรูปท่านนั่นแหละ” หลวงปู่เย็นบอก หลวงปู่เย็นชี้ให้ดูรูป “พระครูโลกอุดร” ที่ท่านใส่กรอบตั้งไว้บูชาข้างหัวนอนและว่า “อาจารย์รูปนี้แหละ ที่ทำให้สร้างวัดสร้างวาได้สำเร็จ”
เข้าชมวัตถุมงคลของ สำนักจันทร์ ได้ที่
    http://sitluangporguay.com/shop/data/store.php?user_id=73
    http://www.thaprachan.com/shop.php?shop_id=2282

ออฟไลน์ สำนักจันทร์

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 18
  • กระทู้: 4819
  • พลังน้ำใจ 20
  • สำนักจันทร์ ๐ ๘ ๑ ๔ ๘ ๒ ๔ ๔ ๔ ๘
  เสาะหาอาจารย์ดี หลวงปู่เย็นอยู่วัดระฆังโฆสิตารามได้ ๙ พรรษา ระหว่างนั้นก็ค่อยสดับตรับฟังว่ามีพระอาจารย์เก่งๆ ที่ไหนบ้าง พอได้ข่าวว่า หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิทยาอาคมแก่กล้า จึงเดินทางไปกราบนมัสการขอฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านจึงรับไหว้แล้วก็ได้ถ่ายทอดวิทยาการต่างๆ ให้ทั้งด้านวิชาอาคมการผสมธาตุสำหรับนำมาสร้างเครื่องมงคลตลอดจนวิชาแพทย์แผนโบราณ การผสมยาด้วยความวิริยะอุสสาหะขยันขันแข็ง ไม่นานต่อมาหลวงปู่เย็นก็สามารถรับการถ่ายทอดวิชาการต่างๆ จากหลวงพ่ออิ่มอย่างหมดสิ้น หลวงพ่ออิ่มเห็นว่าไม่มีอะไรจะสอนให้อีกแล้ว แต่หลวงปู่เย็นก็ยังกระหายใคร่รู้ในวิทยาการอยู่อีก หลวงพ่ออิ่มจึงฝากฝังให้เรียนต่อกับพระครูศรี วัดสระปรางค์ จังหวัดสิงห์บุรี ท่านพระครูศรี วัดพระปรางค์รูปนี้ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมยิ่งในสมัยนนั้น มีลูกศิษย์ลูกหามาขอเรียนวิทยาคมจากท่านมากมาย และต่อมาได้กลายเป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็หลายรูป เช่น หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หลวงพ่อพิม หลวงพ่อทอง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทองเป็นต้น ท่านพระศรีเมื่อทราบว่าหลวงปู่เย็นเป็นศิษย์ของหลวงพ่ออิ่มวัดหัวเขา ซึ่งเป็นสหมิกกับท่าน และได้ฝากมาเรียนวิทยาคมเพิ่มเติม ก็รับไว้ด้วยความเต็มใจประกอบกับหลวงปู่เย็นเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที คอยปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์ด้วยความขยันขันแข็ง และเป็นผู้ฝักใฝ่ในวิชาความรู้ จึงเป็นที่รักใคร่โปรดปรานของท่านพระครูศรี และได้เมตตาสั่งสอนถ่ายทอดความรู้ให้จนหมดเปลือกโดยไม่ปิดบังอำพราง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ หลวงปู่เย็นได้ธุดงค์ผ่านไปทางอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี พบเจดีย์องค์หนึ่งซุกอยู่ในดงหญ้ารกทึบอยู่ในสภาพทรุดโทรม จึงรู้ว่าอดีตเคยเป็นวัดที่ถูกปล่อยปละละเลยทิ้งให้รกร้าง ด้วยกุศลเจตนาที่บังเกิดขึ้นในดวงจิตอย่างแรงกล้า จึงตั้งปณิธานที่จะบูรณะก่อสร้างขึ้นมาใหม่ หลวงปู่เย็นได้จัดการขายที่นาซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาถึงท่านไปหลายแปลง นำเงินที่ได้ทั้งหมดมาซื้ออิฐ หิน ปูน ทราย และวัสดุก่อสร้าง อาศัยที่ท่านมีฝีมือในเชิงช่างอยู่ก่อนแล้ว จึงลงมือสร้างกุฎิขึ้นมาก่อน จากนั้นก็สร้างศาลาสำหรับประกอบศาสนกิจ หอสวดมนต์ ขุดสระน้ำ สร้างพระอุโบสถ (เสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๒๒) เมรุเผาศพ (เสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๔) จนกลายเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองสวยงาม มีนามว่า “วัดกลางชูศรีเจริญสุข” ปัจจัยในการบูรณะวัดกลางชูศรีเจริญสุข จากวัดร้างให้กลับรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง ในชั้นแรกนั้นเป็นเงินจากการขายที่นาหลวงปู่เย็น ต่อมาเมื่อชาวบ้านได้เห็นเจตนาอันบริสุทธิ์ของท่านก็นำวัสดุก่อสร้างมาถวาย ผู้ใดถวายปูน ๑ ถุง หลวงปู่ก็มอบอักษร “พ”ให้หนึ่งตัว ปรากฎว่าตัว “พ”ที่หลวงปู่เย็นได้มอบสมนาคุณให้ไปนั้น ผู้ที่รับไปแล้วต่างประสบอภินิหารกันหลายต่อหลายราย ตั้งจิตอธิษฐานขอสิ่งใดมักจะสมหวังในสิ่งนั้นเสมอ เป็นที่เล่าลือจากปากต่อปาก จึงมีคนมาขอตัว “พ”จากหลวงปู่จำนวนมากผ็ที่มาจากที่ไกลไม่สามารถขนปูนมาได้ ก้ถวายปัจจัยตามราคาของปูน ๑ ถุง หลวงปู่ก็มอบตัว “พ”ให้ไป ๑ ตัว แต่ก่อนปูนถุงละ ๒๐ บาท ใครถวาย ๒๐ บาท ก็จะได้ตัว “พ” ไป ๑ ตัว เมื่อปูนขึ้นราคา ตัว “พ” ของหลวงปู่เย็นก็ขึ้นราคาตามไปด้วย ซึ่งผู้ที่รับไปไม่เคยคิดในเชิง “พุทธพาณิชย์” แม้หลวงปู่จะพูดอย่างอารมณ์ดีเสมอว่า “ตัว พ ของข้าเป็นพุทธพาณิชย์” ทุกคนก็รู้ว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ท่านได้มาล้วนแต่ถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัดทั้งสิ้น ช่วงที่หลวงปู่เย็นบูรณะก่อสร้างวัดกลางชูศรีเจริญสุขนี้ ในแต่ละวันหลังจากท่านออกบิณฑบาตฉันจังหันเสร็จ ก็จะมาขนหินขนทรายผสมปูนก่อสร้างหรือทำงานช่างไม้ด้วยตัวท่านเอง ถ้ามีญาติโยมเจ็บป่วยมาให้รักษา ท่านจะทำหน้าที่เป็นหมอ รักษาด้วยยาแผนโบราณบ้าง น้ำมนต์บ้าง โดยเฉพาะเรื่องฝีและแผล เนื้อร้ายแผลเน่านั้น หลวงปู่เย็นมีวิธีรักษาที่เฉียบขาดไม่เหมือนใคร ท่านจะใช้เหล็กเผาไฟจนแดงแทงตรงที่เป็นฝีแล้วพรมน้ำมนต์ ไม่กี่วันก็หานอย่างน่าอัศจรรย์ แม้กระทั่งในปัจจุบันก็ยังมีคนไปให้ท่านรักษาอยู่เสมอ ตกกลางคืนหลังจากที่ท่านไหว้พระสวดมนต์แล้ว หลวงปู่เย็นก็จะมานั่งหักก้านธูปทำตัว “พ” ไว้แจกจ่ายสมนาคุณผู้ที่นำปูนมาถวายจึงกล่าวได้ว่าสิ่งก่อสร้างรุ่นเก่าภายในวัดกลางชูศรีเจริญสุข ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ กุฎิธรรมฐาน กุฎิต้อนรับญาติโยม เมรุ ล้วนแล้วแต่เกิดจากฝีมือของหลวงปู่เย็นทั้งสิ้น
เข้าชมวัตถุมงคลของ สำนักจันทร์ ได้ที่
    http://sitluangporguay.com/shop/data/store.php?user_id=73
    http://www.thaprachan.com/shop.php?shop_id=2282

ออฟไลน์ สำนักจันทร์

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 18
  • กระทู้: 4819
  • พลังน้ำใจ 20
  • สำนักจันทร์ ๐ ๘ ๑ ๔ ๘ ๒ ๔ ๔ ๔ ๘
   นิมนต์หลวงปู่บุดดามาสร้างความเจริญต่อ คราวหนึ่งหลวงปู่ได้ไปกิจนิมนต์ เห็นพระภิกษุรูปหนึ่งที่ขึ้นธรรมมาสน์ มีสำเนียงการเทศน์น่าฟังยิ่งนัก อีกทั้งกิริยาเต็มไปด้วยความสงบเยือกเย็นบ่งบอกถึงการเป็นพระนักปฎิบัติธรรมในใจเกิดความผูกพันอยากได้พระรูปนี้มาอยู่ที่วัดที่ท่านกำลังสร้างอยู่ เพื่อจะได้ช่วยกันสร้างความเจริญรุ่งเรือง แต่ไม่กล้าเอ่ยปากด้วยเกรงว่าจะพาท่านมาอดมาอยากลำบากเสียเปล่าๆ จนเมื่อไตร่ตรองรอบคอบดีแล้วก็ให้เกิดกำลังใจครั้นพอเสร็จพิธี หลวงปู้เย็นก็เข้าไปกราบนมัสการพระภิกษุรูปนั้นแล้วนิมนต์ให้ไปอยู่ที่วัดกลางชูศรีเจริญสุข เพื่อช่วยกันพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรือง โดยยื่นขอเสนอว่าขอให้มาอยู่สักพักหนึ่งก็ได้ หรือถ้าอยู่นานได้ยิ่งดี พระเทศน์รูปนั้นรับปากทันที และบอกหลวงปู่เย็นว่าจะอยู่นานทีเดียวละ ทราบในภายหลังว่า พระภิกษุที่หลวงปู่เย็นนิมนต์ไปอยู่ด้วยนั้น มีนามเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “หลวงปู่บุดดา ถาวโร”  หลังจากที่หลวงปู่บุดดา มาจำพรรษาอยู่ด้วยแล้ว หลวงปู่เย็นก็ได้สร้างวัดกลางชูศรีเจริญสุขให้เป็นวัดของนักปฎิบัติธรรมโดยแท้จริง โดยมีหลวงปู่เย็นเป็นผู้นำในการเจริญภาวนา วิปัสสนากรรมฐาน หลวงปู่เย็นมักจะหยอกพระเณร และศิษยานุศิษย์ของท่านเสมอเสมอว่า ตราบใดที่หลวงปู่บุดดายังอยู่ที่วัดกลางชูศรีเจริญสุขความเจริญรุ่งเรืองก็มีมาเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะท่านเป็นพระแท้ ไม่ต้องทำอะไรลาภสักการะก็จะไหลมาเทมา ที่พูดกันว่า “ยามหลับได้เงินหมื่น ยามตื่นได้เงินแสน” หลวงปู่บุดดาได้ทำให้เป็นที่ประจักษ์มาแล้วหลายครั้งหลายหนเมื่อท่านจำวัดหลับอยู่ คนที่มาทำบุญกับท่านเกรงใจไม่กล้าปลุกจึงรวมปัจจัยใส่ซองแล้วค่อยๆสอดใส่มือท่านโดยไม่ให้รู้สึกตัว เมื่อวัดกลางชูศรีฯ เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาสมตามที่หลวงปู่เย็นได้ตั้งปณิธานไว้แต่ต้น ท่านก็ถวายให้หลวงปู่บุดดาดูแลรักษาต่อไป ส่วนหลวงปู่เย็นนั้นก็ออกเสาะหาวัดร้างเพื่อจะพลิกความเจริญ ให้กลับฟื้นขึ้นมาใหม่ หลวงปู่เย็นท่านก็เล่าให้ฟังว่า ในเขตจังหวัดสิงห์บุรีติดกับจังหวัดชัยนาทมีวัดร้างอยู่แห่งหนึ่ง อยู่ใขเขตชัยนาท หลวงปู่ปรารภว่า ตั้งใจไว้ว่าสร้างเมรุเผาศพวัดกลางชูศรีฯ เสร็จ จะไปบูรณะวัดร้างแห่งใหม่ในเขต ชัยนาท นั่นคือ“วัดร้างการเปรียญ”
เข้าชมวัตถุมงคลของ สำนักจันทร์ ได้ที่
    http://sitluangporguay.com/shop/data/store.php?user_id=73
    http://www.thaprachan.com/shop.php?shop_id=2282

ออฟไลน์ สำนักจันทร์

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 18
  • กระทู้: 4819
  • พลังน้ำใจ 20
  • สำนักจันทร์ ๐ ๘ ๑ ๔ ๘ ๒ ๔ ๔ ๔ ๘
     วัดร้างการเปรียญ ณ ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท มีวัดเก่าแก่อยู่วัดหนึ่งชื่อว่า “วัดการเปรียญ” ตอนที่หลวงปู่เย็นไปพบนั้น ทางกรมศาสนาได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดสร้างมาแล้วประมาณ ๖๐-๗๐ ปี สิ่งที่หลงเหลือให้เห็นจึงมีแต่เพียงซากอิฐเก่าในดงหญ้ารก ซึ่งสันนิษฐานว่าจะเป็นโบสถ์ที่หักทรุดลงมา และใบเสมาแกะสลักที่เหลืออยู่เพียงครึ่งใบอีก ๒-๓ ชิ้น จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าที่อาศัยอยู่ในละแวกใกล้กับวัดมานานกล่าวว่า สมัยก่อนโน้นมีคนเข้ามาขุดหาของมีค่าในวัดร้าง และได้ไปเป็นสมบัติส่วนตัวหลายชิ้น เช่นพระพุทธรูปบูชา ขนาดย่อม พระเครื่องของใช้ทำด้วยสัมฤทธิ์ โลหะ อื่นๆ และเครื่องปั้นดินเผา ตลอดจนพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่พระอุโบสถวัดหัวเด่นเดิมที่นั้น วัดการเปรียญมีเนื้อที่อันเป็นธรณีสงฆ์อยู่ ๙๐ ไร่ แต่หลังจากทำการรังวัดใหม่ในปัจจุบันเหลือที่อยู่เพียง ๗๐ ไร่เศษ ภายในบริเวณวัดมีสระน้ำอยู่ ๒ สระ แต่ต่อมาภายหลังได้ถมเสียหนึ่งสระ  จึงเหลือเพียงสระเดียว และเชื่อถือกันว่าเป็นสระน้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาหลวงปู่เย็นได้มาบูรณะวัดการเปรียญและทำการขุดลอกสระเพื่อจะได้กักเก็บน้ำไว้ใช้ตลอดทั้งปี ได้พบตรงกลางสระมีเสาไม้ ๑๐ กว่าต้น ผู้เฒ่าซึ่งอยู่ที่นั้นมานานคาดว่าคงเป็นเสาหอไตรที่สร้างไว้กลางสระในสมัยก่อน และเล่าต่อไปว่าคนรุ่นเก่าๆไม่มีใครกล้าลงไปในสระนั้น เพราะเคยมีคนตักน้ำไปกินไปใช้แล้วเกิดอาเพศขึ้นภายใน ๓ ถึง ๗ วัน บางคนลงไปอาบน้ำในสระ ปรากฎว่า ๒-๓ วันต่อมาผิวหนังตามตัวเกิดสะเก็ดเหมือนเกล็ดปลา บางคนก็เป็นผดผื่นคัน รักษาเท่าไรก็ไม่หายจนต้องจุดธูปขอขมาที่ข้างสระ อาการที่เป็นอยู่ก็หายไปอย่างน่าอัศจรรย์ ในการขุดลอกสระคราวนั้นได้ใช้รถแม็กโคตักเอาดินขึ้นมาจากสระ ทำไปได้จวนจะเสร็จอยู่แล้ว ก็ได้ไปตักเจอของแข็งสิ่งหนึ่งเข้าพยายามดึงเท่าไรก็ไม่สามารถเอาขึ้นมาได้แถมรถแม็กโคก็ทำท่าจะเลื่อนลงไปในสระอีกด้วย แม้ว่าย้ายที่ใหม่ก็ไม่สามารถตักขึ้นมาได้อีก การขุดสระจึงต้องยุติลงเพียงแค่นั้น หลังจากหลวงปู่เย็นได้บูรณะวัด สร้างใหม่ให้มีสภาพร่มรื่นเหมาะแก่การ ปฎิบัติธรรมแล้วท่านได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “วัดสระเปรียญ” โดยได้แรงจูงใจจากที่วัดนั้นเคยมีหอไตรอยู่กลางสระน้ำอันเป็นที่รวบรวมพระคัมภีร์ต่างๆ เพื่อการศึกษาและปฎิบัติ หลวงปู่เย็นได้สร้างศาลาอเนกประสงค์ตรงบริเวณที่เคยเป็นโบสถ์เก่า สำหรับประกอบศาสนกิจของญาติโยมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้สร้างกุฎิสงฆ์ขึ้น ๑๑ หลัง สร้างแท็งก์น้ำใหม่ ๒ ที่ สร้างแท่นพระสีวลี ๒ แท่น ปรับบริเวณวัดให้มีทางเดินสะดวกสบาย ปรับปรุงถนนเข้าวัดที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น สรางหอสวดมนต์ปฎิบัติธรรมของพระภิกษุสามเณร และอุบาสิกาที่สนใจการปฎิบัติกรรมฐาน และสร้างกุฎิให้เจ้าของวัดในอดีตเรียกว่า “กุฎิเจ้าท้ายสระ” เพื่อปกปักรักษาดูแลวัด เพราะสมัยนั้นวัดร้างแห่งนี้ปราศจากผู้ดูแลจึงมีคนมาขุดหาของมีค่าไปเป็นสมบัติจนหมดสิ้น เหลือไว้เพียงซากอิฐเก่าๆ ให้ดูพอเป็นหลักฐาน หลวงปู่เย็นเคยกล่าวกับศิษย์ที่ใกล้ชิดตอนอยู่วัดสระเปรียญใหม่ๆ ด้วยความเชื่อมั่นว่า “เคยสร้างวัดกลางชูศรีฯ มาแล้ว จะต้องสร้างวัดนี้ขึ้นมาใหม่ให้ได้” และบัดนี้ท่านได้ทำตามที่ลั่นวาจาไว้แล้ว และยังคงทำต่อไปโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก 
เข้าชมวัตถุมงคลของ สำนักจันทร์ ได้ที่
    http://sitluangporguay.com/shop/data/store.php?user_id=73
    http://www.thaprachan.com/shop.php?shop_id=2282

กระดานสนทนาเว็บไซต์ ศิษย์หลวงพ่อกวย


 


Facebook Comments