ผู้เขียน หัวข้อ: เมฆพัตรวัดหลวงฯ ตำนานแห่งเมืองสรรพ  (อ่าน 15945 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฝุ่นดิน

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 2
  • กระทู้: 668
  • พลังน้ำใจ 2
  • ฝุ่นดินท้องถิ่นนิยม 084-7208460
เมฆพัตรวัดหลวงฯ ตำนานแห่งเมืองสรรพ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2013, 03:22:55 pm »
      เจ้าคุณอุดรคณารักษ์ (ศรี) พื้นเพเดิมเป็นคนสรรพยา ปีเกิดไม่ทราบชัดนักทราบแต่ปีมรณะภาพตรงกับปี ๒๔๘๗ ขณะอายุได้ ๘๑ จึงพออนุมาณปีเกิดของท่านได้ว่าน่าจะอยู่ราวๆปี ๒๔๐๖ โดยประมาณ มีข้อมูลปรากฎว่าเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ ได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากพระครูไพโรจน์ราชสังฆาราม เป็นพระอุดรคณารักษ์ พระฐานานุกรมพระราชาคณะปลัดฝ่ายซ้าย คู่กันกับ พระทักษิณคณิสร (สาย) เป็นปลัดฝ่ายขวา ในพระอัฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส จำพรรษาที่วัดพระเชตุพนฯ

      สำหรับกิตติคุณของท่านเจ้าคุณศรีฯท่านนี้ก็ถือว่าไม่ธรรมดาเพราะแม้ในงานพิธีพุทธาภิเษกพระพิมพ์นาคปรกใบมะขามของวัดอนงค์เมื่อปี ๒๔๖๓ ท่านเจ้าคุณศรีก็็เป็น ๑ ใน๔ ยอดคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสกในคราวนั้นด้วย ซึ่งประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม ขณะดำรงตำแหน่งที่ "พระพรหมมุนี" ๒.สมเด็จพระพุฒาจารย์นวม วัดอนงคาราม ขณะดำรงตำแหน่งที่ "พระรัชชมงคลมุนี" ๓.พระครูวิมลคุณากร (ศุข) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ๔.พระอุดรคณารักษ์ (ศรี) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร

      และเห็นว่าวัดหลวง(แต่เดิมชื่อวัดบัวหลวง) เริ่มชำรุดทรุดโทรมลงไปมาก ท่านจึงเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะหลายอย่างให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น อาทิโบสถ์ซึ่งสร้างในราว ๒๔๖๑-๒๔๖๖ วิหาร ซึ่งวิหารนี้จำลองมาจากวิหารประจำทิศของวัดพระเชตุพนฯ  วัดหลวงจึงมีความเป็นแก่นสารขึ้นจนถึงปัจจุบัน ต่อมาภายหลังในปี ๒๔๙๔ เจ้าคุณสายบัวเจ้าอาวาสวัดหลวงจึงตั้งชื่อวัดขึ้นใหม่ว่า วัดหลวงสิริบูรณาราม(สิริ=ศรี) เพื่อเป็นเกียรติคุณให้แก่เจ้าคุณศรีฯผู้บูรณะนั่นเอง

ออฟไลน์ ฝุ่นดิน

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 2
  • กระทู้: 668
  • พลังน้ำใจ 2
  • ฝุ่นดินท้องถิ่นนิยม 084-7208460
Re: เมฆพัตรวัดหลวงฯ ตำนานแห่งเมืองสร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2013, 08:03:19 pm »
เจ้าคุณศรีท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ทับ วัดอนงค์ผู้สร้างพระเนื้อเมฆสิทธิ์อันเกรียงไกร  แต่พระปิดตาของเจ้าคุณศรีจะออกมาเป็นเนื้อเมฆพัตต่างจากของอาจารย์ท่าน ปิดตามหาอุดรุ่นนี้เองที่ถือว่าเป็นพระรุ่นแรกของวัดหลวง ที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าลือกันว่า หลวงปู่ศุข หลวงพ่อเฟื่อง มาร่วมปลุกเสกร่วมกับเจ้าคุณศรี พิจารณาแล้วก็พอเห็นความเป็นไปได้ เพราะในประวัติวัดหลวงฯระบุว่าสร้างโบสถ์ในปี ๒๔๖๖ แสดงว่าเจ้าคุณศรีท่านต้องเข้ามาบุกเบิกวัดหลวงฯซึ่งในขณะนั้นเป็นวัดร้างก่อนหน้านั้นอยู่หลายปีพอควร จึงเป็นช่วงเวลาที่ทันอายุของหลวงปู่ศุขที่จะมาร่วมปลุกเสกได้ ปิดตามหาอุดเมฆพัตรุ่นแรกของวัดหลวงนี้เท่าที่พบมี ๒ พิมพ์คือพิมพ์ลอยองค์และพิมพ์จอบ มีรูปทรงเอกลักษณ์สวยงามไม่ซ้ำใคร ทางด้านเนื้อหาเป็นเนื้อเมฆพัต ซึ่งเป็นเนื้อเมฆพัตสูตรหมายถึงเมฆพัตที่สร้างและผสมตามสูตรโบราณเนื้อหาจะดูหนึกแน่น สีสันวรรณะจะออกดำมันมีกระแสคล้ายปีกแมลงทับ ไม่ใช่เมฆพัตโรงงานแบบทั่วๆไปซึ่งเนื้อจะออกฟ่ามๆและสีสันวรรณะออกจะดำด้านๆ ด้านหลังเป็นยันต์กระต่ายสามขาลงอักขระทั้งห้าช่องด้วยนะโมพุทธายะ ส่วนบนสุดมีการเข้าลวดทองแดงไว้สำหรับทำเป็นห่วงในตัว

ออฟไลน์ ฝุ่นดิน

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 2
  • กระทู้: 668
  • พลังน้ำใจ 2
  • ฝุ่นดินท้องถิ่นนิยม 084-7208460
Re: เมฆพัตรวัดหลวงฯ ตำนานแห่งเมืองสร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2013, 08:09:03 pm »
  ส่วนพระพิมพ์กลีบบัวเนื้อเมฆพัตร์ ซึ่งด้านหลังจะประทับยันต์ใบพัด กลางยันต์ใบพัดมีอักขระตัว อึ ใต้ยันต์ใบพัดลงด้วย อิสวาสุ ซึ่งพระพิมพ์กลีบบัวนี้มี ๒ รุ่นคือ
   
      ๑.รุ่นแรกองค์พระจะมีขนาดใหญ่กว่า อักขระตัวอึ(คล้าย ร สองตัวและมีขีดขั้นอยู่กึ่งกลาง ด้านบนมีสระ อึ) จะอยู่ค่อนมาทางข้างหน้าชิดขอบยันต์ใบพัด คำว่า สวา จะมีหมวก(คล้ายสระอิ) เนื้อเมฆพัตร์จับตัวแน่นเลื่่อมนวล ลักษณะเช่นนี้จัดเป็นงานตลาดก่อนปี๒๕๐๐ ในช่วง ๒๔๗-๒๔๘กว่าๆ นิยมกันมาก เช่นทางนครปฐมนำไปเล่นเป็นของหลวงปู่บุญก็มี ทั้งนี้ก็เป็นไปได้เพราะอยู่ในช่วง๒๔๗กว่าๆเช่นกัน สำหรับกลีบบัววัดหลวงชุดนี้สันนิษฐานว่าน่าจะนำมาแจกในคราวงานทอดกฐินวัดหลวงในปี ๒๔๗๔ วาระเดียวกันกับรูปถ่ายเจ้าคุณศรีฯที่ระบุข้อความดังกล่าวไว้ก็เป็นได้ รุ่นนี้จึงไม่ทันหลวงปู่ศุข และหลวงพ่อเฟื่องปลุกเสก หลวงปู่ศุขมรณะ ๒๔๖๖ ส่วนหลวงพ่อเฟื่องมรณะ ๒๔๖๕ (จากทำเนียบเจ้าอาวาสวัดทั่วราชอาณาจักร ระบุ"หลวงพ่อปลัดเฟื่อง พ.ศ.๒๔๓๕-๒๔๖๕) แต่เหตุไฉนบางท่านจึงเข้าใจว่าเหรียญรูปไข่รุ่นแรกของหลวงพ่อเฟื่องที่ออกในปี ๒๔๗๖ เป็นเหรียญทันตัวก็ไม่ทราบ (( แก้ไข 03/02/58..เนื่องจากพบข้อมูลจากเอกสารที่พระมากแจ้งข่าวการมรณะภาพของหลวงพ่อเฟื่องไปยังหลวงพ่อทรัพย์วัดกำแพงเจ้าคณะหมวดสรรพยาในขณะนั้นมีข้อความระบุว่า "ลุศักราชได้ ๑๒๙๕ ปี ระกาเบญจศก ร.ศ. ๑๕๒ พระภิกษุมากเห็นเปนคนลงความจดหมาย ถึง พระวินัยธรทรัพย์ ติสฺสทตฺต เจ้าคณะหมวดสรรพยา เจ้าอธิการวัดกำแพง เเจ้งความว่า
ด้วย หลวงพ่อพระปลัดเฟื่อง ธมฺมโชติ เจ้าอธิการวัดวังหิน อาพาธโดยโรคชราแลกลายเปนธาตุพิษ เสียแต่วันอังคารที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ แลถึงเเรม ๒ ค่ำ เดือน ๖ ของวันพุธที่ ๑๐ พฤษภาคม ศกนี้ อาการพระคุณท่านหนักขึ้นเหลือกำลังของแพทย์ แลถึงมรณกรรม เสียเมื่อเพลาบ่าย ๓ โมงเศษ ของวันนี้" เห็นว่าเป็นข้อมูลชั้นปฐมภูมิซึ่งออกในเวลาและสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นจึงควรยึดถือมากกว่าเอกสารที่นำไปตีพิมพ์แล้วโดยหน่วยงานอื่น..จึงสรุปตามเอกสารว่าหลวงพ่อเฟื่องมรณะภาพในปี ๒๔๗๖ ))
   
       ๒.รุ่นสององค์พระจะมีขนาดย่อมลง อักขระตัวอึ จะอยู่เกือบกึ่งกลางของยันต์ใบพัด คำว่า สวา ไม่มีหมวก เนื้อเมฆพัตรสดวาว พื้นผิวมักมีรูพรุนอยู่ทั่วไป เนื้อโลหะเกาะตัวแบบฟ่ามๆ รุ่นนี้เสริมขึ้นมาภายหลังไม่ทันเจ้าคุณศรี
        พระพิมพ์กลีบบัวเนื้อเมฆพัตรในลักษณะนี้เป็นพระตลาดที่มีพ่อค้ารับจ้างทำให้กับวัดต่างๆตั้งแต่ก่อนปี ๒๕๐๐ จึงค่อนข้างจะเล่นหายากนอกเสียจากได้ในพื้นที่หรือมีที่มาที่ชัดเจน

ออฟไลน์ ฝุ่นดิน

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 2
  • กระทู้: 668
  • พลังน้ำใจ 2
  • ฝุ่นดินท้องถิ่นนิยม 084-7208460
Re: เมฆพัตรวัดหลวงฯ ตำนานแห่งเมืองสรรพยา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2013, 08:09:59 pm »

สององค์บนทันเจ้าคุณอุดรฯครับ
ส่วนองค์เดียวที่อยู่ล่างสุดเป็นพิมพ์เสริม

จารึกไว้ในแผ่นดิน ดีกว่าปล่อยให้เสื่อมสลายไปกับกาลเวลา


ออฟไลน์ MM_MM

  • สมาชิก
  • **
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 75
  • พลังน้ำใจ 0
Re: เมฆพัตรวัดหลวงฯ ตำนานแห่งเมืองสรรพยา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2013, 07:36:48 am »
ขอบคณสำหรับข้อมูลดีๆๆครับ

กระดานสนทนาเว็บไซต์ ศิษย์หลวงพ่อกวย

Re: เมฆพัตรวัดหลวงฯ ตำนานแห่งเมืองสรรพยา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2013, 07:36:48 am »

 


Facebook Comments