ผู้เขียน หัวข้อ: ขอคาถากันงูหน่อยครับ  (อ่าน 14843 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sportt

  • สมาชิก
  • **
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 54
  • พลังน้ำใจ 0
Re: ขอคาถากันงูหน่อยครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 11:07:49 am »
ฆะ งอ   ครับ ......  ผมเข้าป่าบ่อยๆ ใช้ตลอด

ท่องแล้วบ้วนน้ำลายใส่งูม้วนขดครับ ลองดูๆ
ขอบคุณครับผมก็เข้าป่าบ่อยเหมือนกัน(ชอบธรรมชาติครับ) ว่าแต่นี่ใช่คาถาหัวใจนาคราชหรือเปล่าครับเคยผ่านตา

ไม่เเน่ใจครับ  แต่เคยอ่านเจอที่ไหนซักแห่ง บอกว่าหลวงพ่อกวยสักอักขระ 2 ตัวนี้ให้คนจับงูขายครับ ^_^

ออฟไลน์ pakaranum

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 14
  • พลังน้ำใจ 0
Re: ขอคาถากันงูหน่อยครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2010, 12:44:56 pm »
ขันธปริตร ในเจ็ดตำนานครับ

ตำนานขันธปริตร (วิรูปักเขหิ เม) มนต์ป้องกันภัยบทที่ ๔

ขันธปริตร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อหิสูตร หรือ อหิราชปริตร (บทสวดป้องกันพญางู) ที่ตั้งชื่อว่า "ขันธปริตร" แปลให้เข้าความได้ยาก อาจหมายถึง "มนต์ป้องกันขันธ์"  ขันธ์ ในที่นี้ต้องแปลว่า ตัวหรือกาย ตัวขันธปริตร จึงหมายถึง "ป้องกันตัว"

..............................................................


          ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดตายในเมืองสาวัตถี (นัยว่าภิกษุรูปนี้กำลังผ่าฟืนใกล้ประตูเรือนไฟในบริเวณพระเชตวันวิหาร งูเลื้อยออกมาจากระหว่างต้นไม้ผุ กัดภิกษุนั้นที่นิ้วเท้า พิษแล่นเข้าสู่หัวใจสิ้นชีวิตทันที ภิกษุทั้งหลายพูดถึงภิกษุถูกงูพิษกัดตายกันแพร่หลาย) ภิกษุทั้งหลายนำความไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ พระองค์จึงตรัสว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะภิกษุมิได้แผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางูทั้ง ๔ หากแผ่เมตตาไปยังตระกูลพญางูทั้ง ๔ แล้วก็จะไม่ถูกงูกัดตาย ตระกูลพญางูทั้ง ๔ คือ ตระกูลพญางูชื่อ วิรูปักษ์ ๑ ตระกูลพญางูชื่อ เอราบถ ๑ ตระกูลพญางูชื่อ ฉัพยาบุตร ๑ ตระกูลพญางูชื่อ กัณหาโคตมกะ ๑ ต่อแต่นี้ไป เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายแผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ เพื่อคุ้มครองป้องกันตน

          ทรงเล่าเรื่องอดีตให้ฟังว่า เมื่อครั้งพระองค์เสวยชาติเป็นดาบส เป็นหัวหน้าฤาษีทั้งหลาย ตั้งอาศรมอยู่คุ้งน้ำใกล้ป่าหิมพานต์ ก็ได้สอนให้ศิษย์แผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางูเหมือนกัน ในครั้งนั้นเหล่าทีฆชาติทั้งหลายก็พากันหลีกหนีหมด ไม่มีใครถูกสัตว์เลื้อยคลายกัดเลย

          ที่ทรงนำอดีตชาติมาเล่านี้ก็คงต้องการให้พระภิกษุทั้งหลาย มั่นใจว่าการแผ่เมตตาจิตไปยังพญางูทั้ง ๔ ตระกูลนั้นได้ผลจริง ดังเคยใช้ได้ผลชะงัดมาแล้วในอดีต

          บทพระบาลีที่มีนามว่า ขันธปริตร เป็นบทสำหรับสาธยายแผ่เมตตาจิต ไปยังตระกูลพญางูทั้ง ๔

          เฉพาะพญางูวิรูปักษ์นั้น มักพบว่า เป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔ ซึ่งท้าววิรูปักษ์เป็นผู้ครองทิศตะวันตก เป็นหัวหน้าบรรดานาคทั้งหลาย คงจะเป็นตน (หรือตัว) เดียวกัน

          อรรถกถากล่าวว่า สัตว์มีพิษทั้งหมดอยู่ใต้อำนาจของพญางู ๔ ตระกูลนี้ เมื่อแผ่เมตตาจิตไปยังหัวหน้าใหญ่ทั้ง ๔ แล้ว ลูกน้องตัวเล็กตัวน้อยย่อมจะไม่ทำอันตรายใดๆ แก่ผู้สวดแผ่เมตตา (ว่าอย่างนั้น)

          พระธุดงค์ท่านหนึ่งเล่าว่า ขณะทำความสะอาดผนังถ้ำที่อยู่ งูเห่าตัวมหึมาแผ่แม่เบี้ยกำลังจะฉกท่าน ท่านนึกถึง ขันธปริตร ขึ้นมา จึงยืนสงบสวดมนต์ ปรากฏว่า สักพักเดียวงูเห่าตัวนั้นก็เลื้อยหนีไป ท่านว่านี้ก็เพราะอานุภาพพระปริตรเป็นแน่แท้

          คุณเสฐียรพงษ์กล่าวไว้ในหนังสือว่า อาจเป็นเช่นนั้นก็ได้ หรืออาจเป็นด้วยว่างูมันมองไม่เห็น เมื่อท่านยืนนิ่งไม่ไหวติง งูมันเลยเลื้อยหนี มีผู้รู้เขาสอนกันว่า เจองูแล้วอย่าวิ่ง ให้ยืนนิ่งเฉยๆ แล้วมันจะหนีเอง ที่พูดอย่างนี้เหมือนไม่เชื่อในความขลังของพระปริตร หามิได้ เพียงแต่บอกว่า มีเหตุผลอื่นที่ทำให้พระธุดงค์รอดชีวิต นอกเหนือจากพระปริตรที่ท่านสวด

.......................................................................

ที่มา:

1. หนังสือ "สวดมนต์เจ็ดตำนาน และ บทไหว้พระสวดมนต์" ของ เสฐียรพงษ์ วรรณปก (ราชบัณฑิต) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๔๒

2. หนังสือ "สวดมนต์แปล" ของวัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔

บทขัดขันธะปะริตตะคาถา

สัพพาสีวิสะชาตีนัง               ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ

ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง             เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง

อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ      สัพพะทา สัพพะปาณีนัง

สัพพะโสปิ นิวาเรติ               ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

 

(คำแปล) บทขัดขันธะปะริตตะคาถา

        พระปริตรอันใด ย่อมยังพิษอันร้ายแห่งงูร้ายทั้งหลาย ให้ฉิบหายไป ดุจยาวิเศษอันประกอบด้วยมนต์ทิพย์ อนึ่งพระปริตรอันใด ย่อมห้ามกันอันตรายอันเศษของสัตว์ทั้งสิ้น โดยประการทั้งปวง ในอาณาเขต ในที่ทั้งหมด ในกาลทุกเมื่อ เราทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันนั้นเทอญ.

 
ขันธะปะริตตะคาถา

วิรูปักเขหิ เม เมตตัง                 เมตตัง เอราปะเถหิ เม

ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง            เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ

อะปาทะเกหิ เม เมตตัง             เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม

จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง            เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม

มา มัง อะปาทะโก หิงสิ             มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก

มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ            มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท

สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา         สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา

สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ             มา กิญจิ ปาปะมาคะมา

อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ

ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู

มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง

นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง ฯ


(คำแปล) ขันธะปะริตตะคาถา

          ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพระยานาคทั้งหลาย สกุลวิรูปักข์ด้วย, ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพระยานาคทั้งหลาย สกุลเอราบถด้วย, ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพระยานาคทั้งหลาย  สกุลฉัพยาบุตรด้วย, ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพระยานาคทั้งหลาย สกุลกัณหาโคตมกะด้วย, ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลายที่มี ๔ เท้าด้วย, ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ที่มีเท้ามากด้วย, สัตว์ไม่มีเท้าอย่าเบียดเบียนเรา สัตว์ ๒ เท้าอย่าเบียดเบียนเรา สัตว์ ๔ เท้า อย่าเบียดเบียนเรา สัตว์มากเท้าอย่าเบียดเบียนเรา ขอสรรพสัตว์มีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาทั้งหมดจนสิ้นเชิงด้วย จงเห็นซึ่งความเจริญทั้งหลายทั้งปวงเถิด โทษลามกไรๆ อย่าได้ มาถึงแล้วแก่สัตว์เหล่านั้น

        พระพุทธเจ้า ทรงพระคุณไม่มีประมาณ พระธรรม ทรงพระคุณไม่มีประมาณ พระสงฆ์ ทรงพระคุณไม่มีประมาณ สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะเข็บ ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก หนู เหล่านี้ล้วนมีประมาณ (ไม่มากเหมือนคุณพระรัตนตรัย) ความรักษา อันเรากระทำแล้ว ความป้องกัน อันเรากระทำแล้วหมู่สัตว์ทั้งหลาย จงหลีกไปเสีย เรานั้นกระทำการนอบน้อมแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ทำการนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ๗ พระองค์อยู่.

 

-------------------------------------------------------------------

ที่มา: หนังสือ "ธมฺมเทวทูตฺ บทสวดมนต์" ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๖



กระดานสนทนาเว็บไซต์ ศิษย์หลวงพ่อกวย

Re: ขอคาถากันงูหน่อยครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2010, 12:44:56 pm »

 


Facebook Comments