ผู้เขียน หัวข้อ: สมเด็จ เกตุทะลุซุ้ม เนื้อแหวกม่าน  (อ่าน 14200 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ erawan

  • สมาชิก
  • ***
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 104
  • พลังน้ำใจ 0
Re: สมเด็จ เกตุทะลุซุ้ม เนื้อแหวกม่าน
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: มกราคม 25, 2009, 07:27:20 am »
 เห็นด้วยครับ แสดงความคิดเห็นกันเข้ามาด้วยเหตุผลนะครับ จะได้เป็นบรรทัดฐานต่อไป

ออฟไลน์ BANGLUANG

  • สมาชิก
  • *****
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 720
  • พลังน้ำใจ 0
Re: สมเด็จ เกตุทะลุซุ้ม เนื้อแหวกม่าน
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: มกราคม 25, 2009, 01:04:06 pm »
ยอดเยี่ยมครับพี่ทั้งสอง

ออฟไลน์ saksitlew

  • สมาชิก
  • *****
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 2
  • กระทู้: 1321
  • พลังน้ำใจ 2
Re: สมเด็จ เกตุทะลุซุ้ม เนื้อแหวกม่าน
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: มกราคม 28, 2009, 08:42:29 am »
เซียนใหญ่ทั้ง๒ท่านเล่นหา  แล้วรุ่นหลังอย่างเราไม่เล่นตามได้ไง  ;D ;D

ออฟไลน์ erawan

  • สมาชิก
  • ***
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 104
  • พลังน้ำใจ 0
Re: สมเด็จ เกตุทะลุซุ้ม เนื้อแหวกม่าน
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: มกราคม 28, 2009, 06:50:44 pm »
ไม่มีใครตอบแสดงความคิดเห็นเข้ามาเลย ผมจึงต้องแสดงความคิดเห็นต่อ เนื่องจากวันนี้มีพระที่รู้จักกันให้ไปจ้างช่างแกะบล็อคพระสมเด็จ แบบใช้คันโยก จึงได้นำพระสมเด็จเกศ

ทะลุซุ้มไปให้ช่างแกะบล็อคดู ซึ่งช่างคนดังกล่าวนี้ทำอาชีพนี้มาหลายสิบปีแล้ว ซึ่งช่างดูและให้ความเห็นดังนี้
           
                   1 พระสมเด็จเกศทะลุซุ้มพิมพ์นี้ ไม่ได้สร้างจากใช้ปั๊มจากแม่พิมพ์คันโยกแต่อย่างใด การปั๊มพระโดยใช้แท่นพิมพ์คันโยก จะวางบล็อคตัวเมีย( ด้านหน้าของสมเด็จ)

วางไว้ และมีปลอกบังคับพิมพ์ในตัวเครื่อง ส่วนบล็อกหลัง(ตัวผู้)จะยึดติดเหล็กด้านบน ซึ่งจะมีเดือยเกลียวประมาณ ครึ่ง ซ.มกว่าๆ ส่วนแม่พิมพ์ก็จะมีรูเกลียวลึกเท่ากัน หมุนยึดติด

และปัจจุบันใช้กาวตราช้างช่วยยึดติดด้วย บล็อคหลัง(ตัวผู้)นี้ ปกติช่างจะไม่จะรูทะลุแม่พิมพ์ ซึ่งมึความหนาประมาณ 2 ซ.ม เพราะ ถ้าเจาะรูทะลุ ถ้าบล็อคหลังมีรูปพระ เช่นสมเด็จ

หลังรูปรุ่นแรก หรือ หลังยันต์ ก็จะทำให้แม่พิมพ์เสีย โดยรูปเสียหรือยันต์เสียหาย เวลามาติดตั้งทำที่วัด   หรือเวลาเผลอปั๊มโดยไม่มีเนื้อผงพระ ก็จะทำให้แม่พิมพ์ตัวหน้าเสียหายได้

เนื่องจากถ้าหากเดือยยึดดังกล่าวทิ่มใส่ได้ถ้าเดือยยาว ถ้าเดือยสั้น ก็จะมีเนื้อเกินตรงรูเวลาปั้มพระ  และปกติจะไม่เจาะสองรู
         

                    ปั๊มโยกนี้ตัวจะมีปลอกบังคับพิมพ์ในตัว ฉะนั้นเวลาปั๊มพระ บริเวณด้านข้างของขอบองค์พระ จะไม่มีเนื้อปิ้น หรือเกินแต่อย่างใด จะเรียบ และถ้าหากจะมีเนื้อปิ้นหรือ

เกิน ก็จะปรากฏที่ขอบพระด้านหน้า หรือด้านหลังหากทำพิมพ์มาไม่ดี เช่นพระปิดตาจัมโบ้ 2 ของหลวงปู่โต๊ะ จะมีเนื้อเกินที่ขอบองค์พระด้านหลัง  คันโยกปั้มพระนี้เริ่มใช้เมื่อปี 2518

เป็นต้นมา ก่อนหน้านั้นยังไม่มีใช้ฉะนั้นรอยกลมๆด้านหลังมัใช่เกิดจากหมุดยึดแต่อย่างใด

                   
                    2. การปั้มพระองค์นี้ ก็มิได้เกิดจากการใช้แม่พิมพ์มือตอก แต่อย่างใดเช่นเดียวกัน ซึ่งแม่พิมพ์มือตอก ประกอบด้วยชิ้นส่วนสำคัญเพียง 3 ตัว คือ บล็อคตัวเมีย ด้าน

หน้าสมเด็จ บล็อกตัวหลัง ตัวผู้ซึ่งมีด้ามยึดติดกันกับแม่พิมพ์(มองภาพเหมือนกับตรายาง) เดือยยึดติดก็จะไม่ทะลุมาด้านหน้าของแม่พิมพ์เช่นกัน เพราะอาจทำให้ยันต์ หรือรูปพระ

เสีย เช่นเดียวกัน และมีปลอกแม่พิมพ์อยู่ตรงกลางบังคับพิมพ์(ลักษณะคล้างกรอบหน้าต่าง)  ซึ่งเวลาปั๊มพระ ก็จะไม่มีเนื้อเกินที่ขอบข้างแต่อย่างใด ถ้าจะมีเกินก็ต้องขอบบนด้าน

หน้า หรือขอบล่างด้านหลังเท่านั้น ซึ่งปาดออกได้ง่าย เช่นสมเด็จรัศมีพรหม หรือรุ่นห้ามหาเมตตาของหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค

                     รอยกลมๆทั้งสองรอยในสมเด็จเกศทะลุซุ้มจึงไม่ใช่รอยหมุดยึดเช่นเดียวกัน   ซึ่งแม่พิมพ์พระทั้งสองพิมพ์ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้พระหนาหรือบางได้

โดยการใส่เนื้อมากหรือน้อย ใส่มากพระปั๊มออกมาหนา ถ้าใส่น้อยพระปั๊มออกมาบาง  และแม่พิมพ์มือตอกเริ่มใช้ประมาณ ปี พ.ศ.2510 เป็นต้นมาเป็นแม่พิมพ์ทองเหลืองส่วนใหญ่


                            พระเกศทะลุซุ้มพิมพ์นี้ มีเนื้อเกินที่บริเวณที่ขอบด้านข้าง ดูตามรูป นั้น เกิดจากการใช้แม่พิมพ์อีกแบบหนึ่ง คือ

แม่พิมพ์ หนีบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายที่หนีบกล้วยปิ้งในสมัยก่อน ทำจากหินมีดโกน สองอันประกบกัน ยึดปลายด้านบนยึดติดกันแบบบานพับประตูหน้าต่าง

แกะพิมพ์พระทั้งสองอัน ด้านหน้าอันหนึ่งและด้านหลังอันหนึ่ง วางบริเวณที่แกะให้ตรงกัน

                     เวลาปั๊มพระเอาเนื้อผงใส่ตรงกลางและหนีบปั๊มพระ ซึ่งเวลาแม่พิมพ์ประกบกัน ก็จะมีเนื้อปิ้นหรือเกินออกมาตามรอยประกบ หากทำแม่พิมพ์มาไม่พอดี

เนื่องจากไม่มีปลอกบังคับขอบด้านข้างขององค์พระ ขอบด้านข้างองค์พระจึงไม่เรียบ ความหนาเนื้อองค์พระจึงเท่ากันหมดทุกองค์ จะให้พระหนาบางไม่ได้

                    แม่พิมพ์หนีบ หินมีดโกนมีใช้มาก่อน พ.ศ. 2500 และใช้เรื่อยมาจนกระทั่งมีบล็อคมือตอก และเลิกนิยมไป

                ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงน่าเชื่อได้ว่าพระพิมพ์นี้สร้างจากแม่พิมพ์หนีบ และดูเนื้อแล้วสร้างมาประมาณสี่ห้าสิบปีแล้ว

                   ส่วนรอยกลมๆสองอันที่ปรากฏที่ด้านหลังองค์พระนั้น น่าเกิดจากช่างกำหนด หรือ มาร์คตำแหน่งไว้ เพื่ออาจแกะรูปองค์พระ หรือยันต์ แต่เวลาทำหลังเรียบ

ไม่ได้ลบออก เวลาปั๊มจึงติดออกมา มิใช่เกิดจากหมุดยึดแต่อย่างใด เพราะปั๊มหนีบไม่มีหมุดยึดองค์พระ และหากสังเกตุให้ดีขอบองค์พระจะไม่ค่อยตรงเหมือน พระที่ปั๊มจาก

แม่พิมพ์ที่ใช้คันโยก หรือมือตอก

                  ความเห็นดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นความเห็นของช่างแกะบล็อคพระให้ความเห็นมา หากท่านใดมีความเห็นแย้งประการใด แสดงความคิดเห็นกันเข้ามานะครับ


ออฟไลน์ ใจมันรัก

  • สมาชิก
  • *****
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 1
  • กระทู้: 639
  • พลังน้ำใจ 1
  • เบอร์ติดต่อ 081 4334877
Re: สมเด็จ เกตุทะลุซุ้ม เนื้อแหวกม่าน
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: มกราคม 28, 2009, 08:16:52 pm »
แต่กระทู้นี้ บอกว่า สร้างปี 10 กว่าๆ ครับ
หลวงพ่อกวย เก่งเกรียงไกร ไปได้รอบโลก

กระดานสนทนาเว็บไซต์ ศิษย์หลวงพ่อกวย

Re: สมเด็จ เกตุทะลุซุ้ม เนื้อแหวกม่าน
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: มกราคม 28, 2009, 08:16:52 pm »

 


Facebook Comments