ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม (บ้านแค)  (อ่าน 5589 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ บอล อุทัย

  • 086-306-0344
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 75
  • -Receive: 26
  • กระทู้: 4657
  • พลังน้ำใจ 26
    • ร้านพระเครื่อง "บอล อุทัย"
          หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร ท่านมีนามเดิม ว่า กวย นามสกุล ปั้นสน ท่านเกิดวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๘ (ปีมะเส็ง) ณ หมู่บ้าน บ้านแค หมู่ ๙ ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ท่านเป็นบุตรของ นายตุ้ย ปั้นสน เป็นชาวบ้านวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง มารดาชื่อคุณแม่ต่วน เดชมา เป็นคนพื้นเพที่บ้านแค ท่านทั้งสองมีบุตรและธิดาด้วยกัน ๕ คน เป็นชาย ๔ คน เป็นหญิง ๑ คน คือ
 
          ๑. นายตุ๊ ปั้นสน
          ๒. นายคาด ปั้นสน
          ๓. นายชื้น ปั้นสน
          ๔.นางนาค ปั้นสน
          ๕. หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร (หลวงพ่อกวยเป็นบุตรคนสุดท้อง)

          เด็กชายกวย ปั้นสน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้องของบิดามารดา เป็นบุตรคนเล็กของครอบครัว จึงเป็นที่รักใคร่ เอ็นดูมากกว่าพี่น้องคนอื่น ๆ เมื่อโตขึ้น บิดา มารดา จึงได้นำเด็กชาย กวย มาฝากไว้กับ หลวงปู่ขวด วัดบ้านแค เพื่อศึกษาเล่าเรียน เนื่องจากสมัยนั้นการคมนาคมและถนนหนทางยังไม่เจริญเหมือนสมัยนี้ อีกทั้งบ้านเมืองยังคงเป็นป่าเป็นดงอยู่มาก การที่จะหาโรงเรียน เข้าเรียนนั้นก็ยาก เพราะห่างไกลความเจริญ หลวงปู่ขวด พอใจและรับเด็กชาย กวย ไว้เป็นศิษย์ เพราะได้ไต่ถามถึงวัน เดือน ปีเกิดของเด็กชายกวย ตลอดจนลักษณะผิวพรรณ การเดินและการพูดจา เด็กชายกวยมีวันเดือนปีเกิดของมหาบุรุษ แสดงว่าวันข้างหน้าจะได้ดีเป็นเจ้าคนนายคน ลักษณะสีผิว สีผิวขาว เหลืองแบบคนมีปัญญา สีผิวต่างจากบิดามารดา ริมฝีปากเล็กแสดงว่าเป็นคนพูดน้อย ประกายตากล้าแข็งเด็ดเดี่ยว แสดงว่าเป็น คนเด็ดเดี่ยวเด็ดขาด แต่เจ้าอารมณ์ การเดินก็แคล่วคล่องปราดเปรียว

          หลวงปู่ขวด ได้สอนหนังสือ ก.กา สระ ตัวสะกด การันต์ แล้วเรียนบวก, ลบ, คูณ, หาร จนคล่อง เด็กชายกวยยังได้อ่านหนังสือธรรมบท บทสวดมนต์ต่าง ๆ ของพระ เด็กชายกวยก็ท่องได้ทั้ง ๆ ที่อายุเพียง ๖-๗ ขวบเท่านั้น หลวงปู่ขวดจึงได้ให้เด็กชายกวยเรียนหนังสือขอม เรียนสูตร, สน นาม อีกมากมาย เด็กชายกวยก็เรียนได้ จำได้ หลวงปู่ขวดได้ทุ่มสติปัญญาในการสอนเด็กชายกวยจนเต็มกำลัง เพราะรู้ในชะตา ของเด็กชายกวยว่า วันข้างหน้าอาจจะได้บวชในพระศาสนา จะได้เป็นใหญ่เป็นโต ทั้ง ๆ ที่หลวงปู่ขวดชราภาพมากแล้ว

          ต่อมา หลวงปู่ขวด มรณะภาพ บิดามารดาจึงได้นำเด็กชายกวยมาเรียนหนังสือขอมต่อกับอาจารย์ดำ วัดหัวเด่น ซึ่งใกล้ ๆ กับวัดบ้านแค เมื่อเรียนหนังสือขอมจนแตกฉานแล้ว บิดามารดาจึงได้พาเด็กชายกวยมาเรียนที่โรงเรียนวัดพร้าว ต.ดอนกำ อ.สรรคบุรี โดยเดิน ทางไปเรียนเพราะไม่ไกลนัก ได้สอบไล่ ชั้น ป.๑ และ ป.๒ เด็กชายกวยแทบจะไม่ได้ความรู้อะไรเพิ่มเติมเลย เพราะเด็กชายกวย ได้เรียนมากับหลวงปู่ขวดและอาจารย์ดำมาแล้ว แถมยังมีความรู้มากกว่ารุ่นเดียวกันมากนัก ภาษาขอมก็เขียนได้ อ่านได้แตกฉาน เด็กชายกวยจึงเบื่อที่จะเรียนในโรงเรียนอีก จึงได้ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำไร่ไถนา ระหว่างที่นายกวยทำไร่ไถนานี้ นาย กวยคิดถึงแต่หลวงปู่ขวด คิดถึงแต่วัด การทำไร่ทำนาหาไปใช้ไปไม่มีแก่นสาร หาประโยชน์อะไรไม่ได้ ช่วงนี้ตามคำบอกเล่าของ ผู้เฒ่าผู้แก่ บอกว่านายกวยไม่ได้ประพฤติเป็นคนเกเรเหมือนกับคนเมืองสรรคบุรีสมัยนั้น

          กล่าวถึงชีวิตในวัยหนุ่มของหลวงพ่อกวย ท่านเล่าว่าท่านเป็นคนซน คือซุกซน ชอบยิงกระสุน (รูปร่างคล้ายธูน แต่ใช้ลูกดินยิง) บ้านไหนตอนกลางคืนไม่ยอมปิดประตูหน้าต่างให้ดี ท่านจะแกล้งเอาคันกระสุนยิง เพื่อเตือนให้เจ้าของบ้านปิดประตูหน้าต่างให้ดี ในวัยหนุ่มนั้น ท่านได้พูดกับบิดามารดาว่า ถ้าตัวเองได้บวชเมื่อไรจะบวชไม่สึก ท่านเคยเล่าให้คุณย่าฉวย เทียนจัน (คุณย่าฉวน อายุมากกว่าหลวงพ่อ ๓-๔ ปี) คนหัวเด่นซึ่งเป็นพี่ของคุณยายฉาย คนที่ดูแลท่านก่อนมรณภาพ ท่านได้เล่าถึงมูลเหตุของการบวชไม่สึกว่า ตอนสมัยท่านหนุ่ม ๆ ท่านมีคนรักอยู่เหมือนกัน ท่านเคยขึ้นหาคนรักของท่านในตอนกลางคืน โดยปีนหน้าต่างเข้าไปหา ท่านไม่ได้ พูดไว้ว่าขึ้นหาบ่อยหรือไม่ และไม่ได้บอกว่าคนรักของท่านชื่ออะไร คืนวันหนึ่งเดือนหงาย พระจันทร์เต็มดวง ท่านนัดกับคนรัก ของท่านว่าจะไปหาแต่เมื่อท่านไปแล้ว ปรากฏไม่กล้าเข้าไปหา เพราะแสงจันทร์สว่างมาก กลัวว่าที่พ่อตา จะเห็น ท่านได้คอยจน กระทั้งเดือนตก คือดึกมากแล้ว ท่านได้ปีนขึ้นไปหาคนรักของท่านปรากฏว่าคนรักของท่าน คอยท่านจนหลับไป ท่านได้เข้าไปดู คนรักของท่านนอนหลับอยู่ ผมผ้ายุ่งเหยิงนอนอ้าปากน้ำลายไหล ผ้าผ่อนเปิดคล้ายคนตาย คล้ายซากศพ หาความงามไม่ได้เลย ท่านได้ถอยหลังออกมาแล้วปีนหน้าต่างกลับ และท่านไม่ได้ไปหาคนรักของท่านอีกเลย และไม่มีคนรักอีก ความตอนนี้คล้ายคลึงกับ เรื่องของพระยศะในพุทธกาล แสดงว่าหลวงพ่อไม่ยินดีในกามคุณตั่งแต่ก่อนบวช

          เมื่อท่านอายุครบบวช บิดามารดาท่านจึงได้ จัดการอุปสมบทให้ แต่นายกวยได้พูดกับบิดามารดาว่า ถ้าจะบวชให้ตนก็ขอให้บวชกันที่วัดไม่ให้จัดพิธีใหญ่โต ไม่ต้องมีการแห่ แหน ให้เปลืองเงินเปลืองทอง โดยท่านให้เหตุผลของครูบาอาจารย์คือหลวงปู่ขวดและอาจารย์ดำว่า "พระเทศน์ก็ต้องรู้จักเวลา ผู้ศรัทธาก็ต้องรู้จักกำลัง " บิดามารดาจึงได้พานายกวยไปหาอุปัชฌาย์ คือ พระชัยนาทมุนี จัดการโกนหัวบวชให้ มีหลวงพ่อปา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์หริ่งเป็นอนุสาวนาจารย์ บวชเมื่อวันที่ ๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ เวลา ๑๕ นาฬิกา ๑๗ นาที อายุ ๒๐ ปี ณ วัดโบสถ์ ต.โพธิ์งาม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท มีฉายาว่า ชุตินฺธโร แปลว่า "ผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง"

          เมื่อบรรพชาอุปสม บทแล้ว พระกวย ก็ได้กลับมาจำพรรษาอยู่ วัดบ้านแค ตอนนั่นหลวงปู่มาเป็นเจ้าอาวาสอยู่ พระกวย ชุตินฺธโร จึงหัดเทศน์เวสสันดรชาดก กันกุมาร, ทานกัณฑ์ ในแถบนั้นสมัยนั้นไม่มีใครสู้ท่านได้เลย ท่านเทศน์แหล่หญิงหม้ายกล่าวถึงพระนางมัทรี และเทศน์แหล่ชาย หม้ายกล่าวถึงพระดวสสันดรต้องไปอยู่ป่าหิมพานต์ ถ้าไม่มีพระนางมัทรีตามเสด็จไปด้วย ก็จะเป็นชายหม้าย ส่านพระนางมัทรี ก็จะเป็นหญิงหม้าย ท่านเทศน์แหล่ถึงการเป็นหญิงหม้ายชายหม้าย มีแต่คนนินทาว่าร้าย คงจะไม่ดีสามีถึงได้ทิ้ง คนแต่งตัวคน เขา ก็ว่าคงอยากจะมีผัวจนตัวสั่น ครั้นไม่แต่งตัว คนเขาก็ว่ารูปร่างขี้ริ้วขี้เหร่ สามีถึงได้ทิ้ง ส่วนชายหม้ายนั้นก็น่าสงสาร มีแต่คน เขาว่าคงจะไม่ดีเมียถึงได้ทิ้ง คงจะเป็นคนเกเรเป็นนักเลงสุราหรือนักเลงการพนัน จะอยู่จะกิน ก็อด ๆ อยาก ๆ ลูกเต้าหรือก็ ขะมุกขะมอม บ้านก็ผุก็พัง เพราะขาดกำลังใจ ท่านแหล่ขนาดหญิงหม้าย ชายหม้าย ไม่อาจนั่งฟังบนศาลา ต้องหลบไปแอบฟัง ที่ ใต้ต้นไม้ บางคนนั่งน้ำตาไหลเป็นบาง บางคนร้องไห้โฮ ชื่องเสียงของท่านในการเทศน์ทานกัณฑ์นั้นโด่งดังมาก แต่กัณฑ์อื่น ๆ  หลวงพ่อก็เทศน์ไม่ดีนัก เพราะการเทศน์เวสสันดรชาดกนั้นพระนักเทศน์ต้องตลกคะนอง แต่หลวงพ่อไม่ชอบตลกคะนอง ปัจจุบัน ใบในการเทศน์ของท่านยังอยู่ที่วัด หลวงพ่อเขียนไว้ว่า พระกวยสร้างถวาย แล้วตอกตรารูปสิงห์ชูคอเอาไว้

          อยู่ต่อมาหลวงพ่อได้หยุดเทศน์โดยหลบหรือแอบไปเรียนวิชาแพทย์โบราณกับหมอเขียน หมอเขียนคนนี้สามารถรักษาโรคระบาด หรือโรคห่าได้ ตอนนั้นคนเป็นโรคระบาดที่บ้านโคกช้าง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก หมออื่น ๆ ก็ตาย เหลือหมอเขียนคนเดียว สามารถรักษาโรคห่า, โรคไข้ทรพิษได้

          ในวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ พระกวยได้มาเรียนปริยัติธรรม เพื่อให้เจริญใน ศาสนา ได้มาอยู่วัดวังขรณ์  ต.โพธิ์ชนไก่ ๒ พรรษา พรรษาต่อมาได้เรียนธรรมโท แต่พอสอบได้เป็นไข้ไม่สบายเลยไม่ได้สอบ จึงมาคิดได้ว่าปริยัติธรรมก็เรียนมาพอสมควร จึงอยากจะเรียนวิปัสสนากรรมฐานและอาคมตลอดจนวิธีทำเครื่องรางของขลัง จึงได้เดินทางไปเรียนวิชากับหลวงพ่อศรี วิริยะโสภิต แห่งวัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี หลวงพ่อศรีองค์นี้เชี่ยวชาญในวิปัสสนา กรรมฐานมาก เก่งที่สุดในจังหวัดสิงห์บุรี ขณะนั้นหลวงพ่อได้เรียนวิชาทำแหวนนิ้ว ซึ่งแหวนนิ้วของหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ ใต้ท้องวงจะตอกตัวขอมอ่านว่าอิติ ของหลวงพ่อก็เช่นกันและได้เรียนวิชาอีกหลายอย่าง ได้จำพรรษาอยู่วัดหนองตาแก้ว ต.โคกช้าง อ.เดิมบาง จ.สุพรรณบุรี ที่วัดตาแก้วนี้ หลวงพ่อได้ปลูกต้นสมอไว้ ๑ ต้น ปัจจุบันยังอยู่ หลวงตาสมาน เคยไปอยู่วัด หนองตาแก้ว ได้นำไก่แจ้เอาไปนอนบนต้นสมอ ปรากฏว่าไก่ไม่ยอมนอน ไม่ทราบว่าหลวงพ่อได้ลงวิชาอะไรไว้ ทั้ง ๆ ที่หลวงพ่อ เพิ่งอายุ ๒๘ ปี พรรษาได้ ๘ พรรษา แสดงว่าหลวงพ่อเป็นผู้มีอาคมตั้งแต่ยังเป็นพระหนุ่ม ได้จำพรรษาที่วัดหนองตาแก้ว ๑ พรรษา ในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้มาจำพรรษาที่ วัดหนองแขม ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท อีก ๑ พรรษา ได้เรียน แพทย์แผนโบราณต่อกับโยมป่วน บ้านหนองแขม และเรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับหมอใย บ้านบางน้ำพระใน

          ขณะที่พักจำ พรรษาที่วัดหนองแขม ได้มีเพื่อนภิกษุชื่อ แจ่ม ได้เดินทางท่องเที่ยวไปพบตำราเป็นสมุดข่อยอยู่ในโพรงไม้ แต่เอามาไม่ได้ เพราะตำรานั้นมีอาถรรพณ์แรงมาก คล้ายมีเทพและเทวดารักษา จึงได้มาชักชวนพระกวยให้ไปดู ปรากฏว่ามีตำราอยู่โพรงไม้จริง มีรอยคนเอาพวงมาลัยดอกไม้ ธูปเทียนมาบูชา ใต้โคนไม้ พระภิกษุ กวย จึงได้จุดธูปบอกเล่าและอธฐานว่า "ถ้าจะให้ข้าพเจ้าเอา ตำรานี้ไปเก็บรักษาไว้ ขอธูปที่จุดนี้ให้ไหม้ให้หมดดอก" แต่ปรากฏว่าธูปได้ไหม้ไม่หมด พระภิกษุกวยจึงได้เสี่ยงสัตย์อธิษฐานขึ้น มาใหม่ว่า "ถ้าหากว่าท่านจะให้ตำรานี้ให้ข้าพเจ้าเอาไปเก็บรักษาไว้ ข้าพเจ้าจะนำเอาตำรานี้ไปทำประโยชน์แก่วัดและช่วยเหลือ ประชาชนเท่านั้น" แล้วก็จุดธูปขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายปรากฏว่าธูปได้ไหม้หมดทั้ง ๓ ดอก หลวงพ่อจึงได้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ เจ้าของตำราและอัญเชิญเอาตำรานั้นมาเก็บไว้ ต่อมามีคนร่ำลือกันว่าต้นเหตุของตำราชุดนี้นั้น เนื่องมาจาก
มีคน ๆ หนึ่งได้นำตำราชุดนี้มาเก็บไว้ในบ้าน ได้เกิดเหตุวิบัติ เจ็บไข้ล้มตาย จึงเอาตำราชุดนี้มาทิ้งไว้ดังกล่าว พระภิกษุกวย เมื่อได้ข่าวดังนั้นก็มาเปิดตำราดูก็ปรากฏว่ามีลายลักษณ์อักษรบอก ไว้ในตำราว่า ตำรานี้ห้ามเอาไปไว้บ้านใคร ๆ ทั้งสิ้น มิฉะนั้นจะฉิบหาย พระภิกษุกวยจึงได้ศึกษาตำรายันต์และคาถาจากตำราเล่ม นี้ ปัจจุบันตำราเล่มนี้ยังอยู่ที่วัด หน้าปกเขียนว่าครูแรงด้วยสีแดง ภายในตำรามีพระมนต์และยันต์ต่าง ๆ มากมายหลายร้อยยันต์ เป็นยันต์กันอาวุธ, กันกระทำ, กันคุณ, กันของ คาถาก็มีมากมายหลายบท เป็นภาษาของคนโบราณแต่มีบทหนึ่งเขียนไว้ว่า พระมนต์พระพทธเจ้าชนะมาร ใช้เรียกนางแม่ธรณี ใช้ทำน้ำมนต์ ฆราวาสห้ามเรียน

          เรื่องตำรายันต์ที่หลวงพ่อคัดลอกและเรียนมานี้ ปัจจุบันอยู่ที่อาจารย์เหวียน มณีนัน คนทำทอง ต.ปากน้ำ อ.เดิมบาง จ.สุพรรณบุรี ๑ เล่ม เก็บรักษาอยู่ที่วัดท่าทอง แขวนไว้ในกุฎิไม่มีใครกล้ายุ่ง อยู่ที่อาจารย์ตั้ว ๑ เล่ม อยู่ที่อาจารย์แสวง วัดหนอง อีดุก อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ๑ เล่ม ส่วนที่วัดมีหลายเล่ม มีอยู่เล่มหนึ่งเป็นตำราภาษาไทย หลวงพ่อห่อปกไว้ อย่าวงดี ใส่พานไว้บูชาหน้าปกเขียนว่า ทางมรรคผล ลายแทงนิพพานเขียนโดยหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ รับหนังสือไว้ พ.ศ. ๒๕๐๒ ปีนั้นหลวงพ่อสดมรณภาพแล้ว ตำรานี้ปัจจุบันยังอยู่ใจพาน หน้าโต๊ะหมู่ท่าน เข้าใจว่าหลวงพ่อได้ศึกษาตำราเล่มนี้ในบั้นปลายของชีวิต

          เมื่อหลวงพ่อออกจากวัดหนองแขมแล้ว ได้ไปจำพรรษาที่วัดบางตาหงาย อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ได้มาเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้เรียนวิชาทำ แหวนแขน, ตะกรุด, มีดหมอ และอื่น ๆ และได้เรียนวิชารักษาโรคกระดูกหักจากหลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี จ.อุทัยธานี เข้าใจว่า หลวงพ่อคงจะเรียนวิชากับหลวงพ่อองค์อื่น ๆ อีก เพราะในตำรารักษาไข้ ยังได้กล่าวถึงครูของท่านองค์หนึ่งคือ หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน กับหลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว ก็เข้าใจว่าชอบพ่อกัน เพราะหลวงพ่อเคยทำพระพิมพ์ยอดขุนพล แล้วนำเหรียญ หลวงพ่อกันกดลงไปด้านหลัง ศิษย์ร่วมรุ่นของหลวงพ่อที่เป็นที่รู้กันคือ หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู อ.บรรพตพิสัย คือครั้งหนึ่ง พระโชน วัดหัวเด่น ได้ไปกราบหลวงปู่ หลวงปู่ได้พูดว่าสรรคบุรี ไม่รู้จักท่านกวยหรือ พระโชนได้พูดว่า เป็นศิษย์ครับ หลวงปู่ หัวเราะชอบใจใหญ่เลย ได้พูดว่า "ท่านกวยเขาใจจริง" เรียนวิชามาด้วยกัน เขาใจจริง เขาไม่กลัวอะไร จากคำบอกเล่าจากพระภิกษูแบนและพระหลวงตา ตลอดจนศิษย์รุ่นเก่าได้พูดตรงกันว่า หลวงพ่อกวยตอนที่อยู่ที่วัดก็เป็นพระ ที่มีอาคมเหมือนพระทั่ว ๆ ไป แต่เมื่อท่านกลับมาจากเรียนวิชาจากเมืองเหนือ (หมายถึง นครสวรรค์) เมื่อท่านกลับมาท่านเก็บตัว พูดน้อย มีจิตมหัศจรรย์ วาจาสิทธิ์ เหนือกว่าพระทั่วไป เรื่องที่หลวงพ่อไปเรียนวิชามากับหลวงพ่อเดิมนี้ มีหลักฐานคือมีรูปถ่าย ของหลวงพ่อเดิม มีจารด้วยลายมือ พบในกุฏิของหลวงพ่อ หลักฐานอีกอย่างหนึ่งคือ ลุงลอน คนสักยันต์แทนหลวงพ่อก็มี มี ๒ รูป สมัยนั้นเดินไป หลังสงครามหลวงพ่อจะไปเรียนวิชาทำทอง เล่นแร่แปรธาตุ แต่หลวงพ่อเดิมไม่สอนให้ ในช่วงนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าหลวงพ่อกลับวัดบ้านแคเมื่อไร แต่ก่อน พ.ศ. ๒๔๘๔ เมื่อหลวงพ่อกลับมาอยู่วัดบ้านแค หลวงพ่อ ได้ทำการสักให้ศิษย์ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ขนาดสักกันทั้งกลางวันกลางคืน ทางเดินสมัยก่อนต้องเดินเท้าเอา ลำบากมาก อย่างดี ก็ขี่จักรยาน รถ ๒ แถว มีเข้าวัด ๑ คัน ออก ๑ คัน เท่านั้น มีศิษย์สักมาก ได้จดบัญชีไว้ ๔ หมื่น ๔พันคน แล้วหลวงพ่อก็ไม่ได้จด ชื่อศิษย์อีกเลย ไม่ถามแม้แต่ชื่อ ศิษย์สักของหลวงพ่อหลายคนยิงไม่ออก

          ต่อมา หลวงพ่อเห็นว่าสมควรแก่เวลา หลวงพ่อได้หยุดสัก หลวงพ่อได้พูดกับศิษย์ว่า ถ้าท่านไม่เลิกสัก หลังคากุฏิท่านสามารถเอาแบงค์ ร้อยมามุ่งหลังคาแทนได้ (สมัยนั้นแบงค์ ๕๐๐ แบงค์๑,๐๐๐ ยังไม่มี) แล้วหลวงพ่อก็ทำแต่เรื่องรางของขลัง เช่น ตะกรุด, มีดหมอ, แหวนแขน, พระพิมพ์ ฯ ในสมัยนั้นเมื่อเสือเดินผ่านวัดหลวงพ่อ ต้องยิงปืนถวายทุกครั้ง ทั้งกลางวัน กลางคืน ในวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๑ หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส เข้าใจว่าหลวงพ่อคงจะกลับวัดบ้านแคมาก่อนหน้านี้หลายปี เพระจากคำบอกเล่าของคนเก่าเล่าไว้ว่า ใน สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๔ หลวงพ่อได้มาอยู่ที่วัดบ้านแค แล้วได้นำ ตะกรุดของครูบาอาจารย์มาแจก เป็นของหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ก็มี เป็นของหลวงพ่อเดิมก็มี เป็นงาก็มี ที่หลวงพ่อทำเองก็มี เพราะมีคนมาขอกันมาก ตลอดจนสมัยนั้นมีเสือเข้ามาปล้นบ้านกันมากมาย บ้านเมืองข้าวยากหมากแพง ผู้คนเดือดร้อน บ้างก็เจ็บ ป่วย ไม่มีหมอ ไม่มียา พระกวยก็ช่วยจนสุดกำลัง คนก็เรียกกันว่า อาจารย์กวยบ้าง หลวงพ่อกวยบ้าง หลวงพ่อคร่ำเคร่งสักให้ ศิษย์บ้าง แจกเครื่องรางบ้าง พระบ้าง, ตะกรุดบ้าง, รักษาโรคบ้าง บ้านเมืองก็เกิดข้าวยากหมากแพง หลวงพ่อจึงตัดสินใจถือ ธุดงค์วัตรข้อฉันอาการเพียงมื้อเดียวมาตลอด ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เรื่อยมา

          หลวงพ่อกวย ท่านไม่ชอบการก่อสร้าง ชอบความเป็นอยู่แบบสมถะ แม้กุฏิของหลวงพ่อก็เป็นไม้ทรงไทยโบราณ แต่การก่อสร้างนั้น หลวงพ่อยกหน้าที่ให้กรรมการวัด แม้การก่อสร้างก็ให้กรรมการวัดและชาวบ้านทำ ยกเว้นส่วนที่ยากจึงจ้างช่างทำ ฉะนั้น ทาง วัดจึงมีแต่กุฏิเก่า ๆ ที่สร้างไหม่ก็มีมีแต่พระอุโบสถ, ศาลาทำบุญ กุฏิชุตินฺธโร ที่ศิษย์สร้างถวายเท่านั้น

          หลวงพ่อกวย ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒ อายุ ๗๔ ปี ๕๔ พรรษา ด้วยอาการสงบ ก่อนหน้านี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ หลวงพ่อได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพญาไท หมอได้วินิจฉัยโรค ว่าหลวงพ่อเป็นโรคขาดอาหารมาเป็นเวลา ๓๐ ปี ได้ให้สารอาหารประเภทโปรตีนกับหลวงพ่อ เป็นเวลาถึง ๑ เดือน ก็ยังไม่เพียง พอกับความต้องการของร่างกายเมื่อกลับวัดหลวงพ่อก็ยังได้ฉันอาหารเพียงวันละ ๑ มื้อ เช่นเดิม โดยไม่เปลี่ยนความตั้งใจ หลวงพ่อยังคงคร่ำเคร่งในการสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคลดูเหมือนจะหนักกว่าเก่า สุขภาพหลวงพ่อมองดูภายนอกก็แข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ หลวงพ่อได้วงปฏิทิน วันที่ท่านเริ่มเจ็บเอาไว้ด้วยสีน้ำเงิน และวงปฏิทิน วันที่ท่านจะมรณภาพเอาไว้ด้วยตัวหนังสือสีแดง คือวันที่ ๑๑ มีนาคม และ๑๑ เมษายน ๒๕๒๒ พร้อมทั้งเขียน พระคาถา นะโมตาบอด ให้ไว้เป็นคาถาแคล้วคลาดและกำบัง หลวงพ่อเขียนว่า "อาตมาภาพพระกวย  นะตันโต นะโมตันติ ตันติ ตันโต นะโม ตันตัน จะมรณภาพ วันที่ ๑๑ เมษายน เวลา ๗ นาฬิกา ๕๕ นาที" พอวันที่ ๑๑ มีนาคม หลวงพ่อก็ล้มป่วย ไม่มีโรคอะไร เพียงแต่ไม่มีกำลัง ฉันอาหารไม่ได้ ไม่ยอมไปโรงพยาบาล มีอาการไข้แทรก ฉันอาหารแทบไม่ได้เลย ไม่มีรสชาติ บางครั้งท่าน พ่นข้าวออกจากปาก ไม่ยอมฉัน แล้วหยิบแผ่นตะกรุดขึ้นมาจาร บางครั้งก็จับสายสิญจน์ ปลุกเสกวัตถุมงคลกลางคืนก็จับสาย สิญจน์ปลุกเสกวัตถุมงคล บางคืนถึงสว่าง ร่างกายของท่านปกติก็ผอมมากอยู่แล้วกลับผอมหนักเข้าไปอีก เมื่อมีศิษย์มาเยี่ยม ศิษย์เห็นท่าน หลายคนร้องไห้ ท่านไม่ชอบ แทบทุกคนจะร้องไห้ ท่านจะดุศิษย์ว่า "มึงร้องไห้ทำไม กูไปดี เป็นห่วงแต่พวงมึงนั่นแหละ" ช่วงหวยใกล้จะออก ท่านได้เขียนเลขหวย 3 ตัวเอาไว้ในฝ่ามือ ใครที่ไปเยียมท่านคนไหนมีโชคลาภ ท่านจะแบมือให้ดู ในช่วงนั้นมีศิษย์มาเฝ้าท่านเต็มไปหมด ตอนเช้ายิ่งมาก เพราะท่านจะมรณภาพ แต่ท่านก็ไม่มรณภาพ ท่านผอมมากมีแต่หนังหุ้มกระดูก มีแต่ประกายตาที่สดใสเท่านั้น จนกระทั่งตกกลางคืนท่านก็ไม่มรณภาพ ค่อนสว่างวันที่ ๑๒ เมษยน ๒๕๒๒ ทางกรรมการวัดและศิษย์ใกล้ชิดได้ประชุมปรึกษากันว่า สงสัยในกุฏิท่านจะลงอาถรรพณ์เอา ไว้ ตลอดจนตำราอักขระเลขยันต์ ตลอดจนรูปครูบาอาจารย์ คงจะไม่มีใครกล้ามารับท่านแน่ อยากเห็นท่านไปดี จึงปรึกษากัน นำท่านออกมาที่หอสวดมนต์ เมื่อเตรียมที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว อุ้มท่านมาจำวัตรที่เตียงที่หอสวดมนต์ ท่านลืมตาขึ้นเป็นการสั่งลา ครั้งสุดท้าย แล้วหลับตาพนมมือเกิดอัศจรรย์ ระฆังใบใหญ่ที่หอสวดมนต์ได้ขาดตกลงมา ดังหง่าง ๆๆๆๆๆ ดังยาวนาน ศิษย์ที่ อยู่ศาลาเข้าใจว่าท่านมรณภาพแล้ว จึงได้ตีระฆัง คือคาดว่ามีคนตีระฆัง เมื่อจับเวลาดู เป็นเวลา ๗ นาฬิกา ๕๕ นาที จับชีพจรท่านดู ปรากฏว่าท่านมรณภาพแล้ว ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน ซึ่งวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไทยโบราณ ศิษย์มากันเต็มไปหมดมืดฟ้ามัวดิน ทางวัดได้จัดสวดอภิธรรม ๑๐๐ วัน กลางคืนได้นำเทปที่ท่านเทศน์ นำมาเปิดให้ศิษย์ฟัง ไอ้เจ็กหมาของท่านร้องโหยหวล มันวิ่งไปทั่ว มันไม่รู้ว่าหลวงพ่ออยู่ที่ไหน ปัจจุบันในวันที่ ๑๒ เมษายนของทุกปี เป็นวันทำบุญ ประจำปีเพื่ออุทิศและระลึกถึงหลวงพ่อ ได้จดจำวันนี้ไว้ จะอยู่ใกล้หรือไกล ในวนที่ ๑๒ เมษายนทุกปี ควรจะทำบุญใส่บาตรหรือ มากราบหลวงพ่อที่วัด หรือนำผ้าป่ามาทอด เพื่อระลึกถึงหลวงพ่อ ขอจงปฏิบัติให้ได้ทุกปี ท่านจะมีแต่ความสุขความเจริญ ชีวิตจะไม่ตกต่ำเหมือนกับคำพรของหลวงพ่อ ที่เคยให้ไว้ "ขอศิษย์ทั้งหลาย จงอย่าอด อย่าอยาก อย่ายาก อย่าจน อย่าต่ำกว่าคน อย่าจนกว่าเขา"

กระดานสนทนาเว็บไซต์ ศิษย์หลวงพ่อกวย


 


Facebook Comments