ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงพ่อสด วัดหางน้ำสาคร ชัยนาท เสือใต้แห่งคุ้งอู่ตะเภา  (อ่าน 67656 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฝุ่นดิน

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 2
  • กระทู้: 668
  • พลังน้ำใจ 2
  • ฝุ่นดินท้องถิ่นนิยม 084-7208460
พระครูวิจิตรชัยการ เดิมชื่อ สด นามสกุล สานวน เป็นบุตรนายสุข นางพันธ์ สานวน เกิดเมื่อวันพุธที่ 18 มิถุนายน พุทธศักราช 2456 ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีฉลู ที่ตำบลหางน้ำสาคร หมู่ 5 อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6 คน คือ 1.พระครูวิจิตรชัยการ ( สด สานวน ) 2.นางผง กันฉุน 3.นายอ่อง สานวน 4.นางเผียน คำเสียง 5.นายทวี สานวน 6.นางนกเล็ก งิ้วเรือง เมื่อยังเยาว์วัยมีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงนัก บิดามารดามีความรักมากเพราะเป็นบุตรชายคนแรก มีนิสัยว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อรั้น มีความมัธยัสถ์ และมีความขยัน ทำงาน พอมีวัยที่จะเรียนหนังสือได้บิดาได้นำมาฝากไว้กับอาจารย์สำเภา จันโภ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหางน้ำสาครโดยให้เรียนเบื้องต้นของภาษาไทย และภาษาขอมสามารถอ่านออกเขียนได้จึงเข้าโรงเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดหางน้ำสาคร สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 3 เมื่อปีพุทธศักราช 2469
และเมื่อปีพุทธศักราช 2470 ได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์สำเภา เจ้าอาวาสวัดหางน้ำสาคร เรียนหนังสือภาษาขอม และปริยัติธรรมสูตรสนธิ และอื่นๆ อีก
ปีพุทธศักราช 2477 อายุ 21 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าอุปสมบท ณ วัดหางน้ำสาคร เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่อวันพุธที่ 9 พฤษภาคม พุทธศักราช 2477 แรม 11 ค่ำ เดือน 6 พระครูสุนทรธรรมนิวิฐ เจ้าคณะอำเภอมโนรมย์ วัดศรีสิทธิการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ชื้น วัดอู่ตะเภา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาฉาย อังคโสภี วัดหางน้ำสาคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาในทางพระพุทธศาสนาว่า"ฐิตสัทโธ" คือ ผู้มีศรัทธาเป็นที่ตั้ง
ด้วยท่านเป็นหลานและเหลนแท้ๆของอาจาย์ใหญ่แห่งเมืองสี่แควในพุทธศักราช 2477 ถึงพุทธศักราช 2479 ท่านจึงไปจำพรรษา ณ วัดหนองสีนวล อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อศึกษาวิชาสมถะกัมมัฏฐานกับหลวงพ่อรุ่ง และหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ ได้ศึกษาเวทวิชาทางไสยศาสตร์ต่างๆ พร้อมกันกับหลวงพ่อโอด วัดจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ หลวงพ่อรุ่งให้หลวงพ่อโอด ( เรียกตามขั้นว่าหลาน ) ให้หลวงพ่อสด ( เรียกตามขั้นว่าเหลน ) หลวงพ่อสดมีสติปัญญาความจำเป็นเลิศจนกระทั่งหลวงพ่อรุ่งกล่าวต่อหน้าศิษย์ทั้งหลายว่า "ท่านสดแตกฉานดีนัก"เมื่อเรียนสำเร็จแล้วต่อมาหลวงปู่ของหลานทั้งสองได้ มรณภาพ เมื่อปีพุทธศักราช 2484 อาจารย์สดก็ได้ร่ำเรียน ทางเวทมนต์จนจบ เมื่อจัดการพระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว
พุทธศักราช 2492 หลวงพ่อสดก็ได้เดินทางกลับมาอยู่วัดหางน้ำสาครตามเดิม ได้มาจัดการร่วมมือร่วมใจพร้อมกรรมการวัดถากถางสร้างวัดใหม่ที่ดงหลังบ้านหางน้ำสาคร ขนานนามว่าวัดป่าเรไร หางน้ำสาคร มีพระที่อยู่จำพรรษา 3 องค์ ด้วยกันคือ 1.หลวงพ่อเอี่ยม 2.หลวงพ่อสด 3.พระเทียน
ต่อมาปีพุทธศักราช 2491 ได้เริ่มสร้างโรงเรียนประชาบาล ขึ้นหนึ่งหลังและร่วมมือกับหลวงพ่อเอี่ยม สร้างสะพานข้ามแม่น้ำหน้าวัดหางน้ำสาคร สร้างสำเร็จภายใน 3 ปี ขอย้อนหลังไปเมื่อสร้างสะพาน เข้าปีที่ 2 ครั้งนั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นขณะที่ช่างผู้มีฝีมือดี ตีตะปูกระเด็นกระดอนไม้ที่รองงานและรองนั่งเลื่อนโครมคราม ทำให้ตะปูทั้งกล่องล่วงตกลงไปในน้ำ คนงานเงียบเจ้าของงานคือ หลวงพ่อสดผู้เรืองวิชาศิษย์ของหลวงปู่รุ่ง ได้หยุดนิ่งไปชั่วขณะคนงานและภิกษุได้ทำงานรวมกันอยู่ต่างมองหน้าสบสายตากัน นึกอยู่ในใจตามๆ กันว่าทำไมหลวงพ่อสดจึ่งนิ่งเฉยไม่พูดอะไรเลย ประมาณ 1 นาที แล้วหลวงพ่อพูดออกมาว่า เอ้ย...! พวกเราจะไปวิตกอะไรกันเดี๋ยวต้องใช้ตะปูรังนี้ให้หมดก่อน ยังไม่ต้องไปเอาใหม่ คนงานตอบหลวงพ่อสดว่ากล่องนี้ล่วงลงน้ำไปหมดแล้วนี่ครับ ไม่ไปเอามาใหม่จะเอาที่ไหนใช้เล่าครับ หลวงพ่อสดตอบว่าพวกเราอย่าเขลาซิ เดี๋ยวมันก็ลอยขึ้นมาเองหรอกน่า คนงานนิ่งกันทั้งหมดพอสักครู่หนึ่ง ตะปู ค้อน กล่องนั้นลอยขึ้นมาอย่างปาฏิหาริย์ พระภิกษุและคนงานตื่นเต้นกันยกใหญ่ โดดไปเอากล่องตะปู ที่ลอยขึ้นมาใช้งานต่อ อันนี้เป็นปฐมวิชาอาคมของ หลวงพ่อสด เป็นที่กล่าวขวัญของปวงประชาชนที่เลื่องลือว่าหลวงพ่อสด เสกตะปูลอยน้ำได้
ส่วนปฏิปทาปาฏิหาริย์ในองค์ท่านนั้นมากมายศิษย์ใกล้ชิดและคนในแถบพื้นที่ต่างยอมรับนับถือ แม้ในงานพิธีพุทธาภิเษกระดับประเทศก็มักจะปรากฎชื่อของหลวงพ่ออยู่ด้วยเสมอ มีอยู่คราวหนึ่งในงานเสกพระหลวงพ่อโมพิธีนั้นมีคณาจารย์เรืองเวทย์หลายท่าน เช่นหลวงพ่อแพ ลพ.กวย ลพ.จวน และลพ.สด เป็นต้นงานในครั้งนั้นกล่าวกันว่าสายสิญจ์ที่ใช้เสกพระคล้ายกับมีกระแสไฟฟ้าวิ่ง
พุทธศักราช 2493 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหางน้ำสาครและเป็นครูฝึกอบรมสั่งสอนปริยัติธรรมแผนกธรรมท่านได้สั่งสอนภิกษุและสามเณรด้วยตนเองอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย พุทธศักราช 2506 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูวิจิตรชัยการ
มาในระยะหลังนี้สุขภาพของท่านไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก ท่านมีโรคประจำตัว คือ โรคเบาหวาน ท่านให้นายแพทย์โรงพยาบาลประจำจังหวัดได้ถวายการพยาบาลรักษาด้วยดีตลอดมา แต่โรคนั้นก็มีแต่ทรงและภายหลังก็ทรุดลงอีก ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหลายครั้งหลายคราว ในครั้งสุดท้ายท่านหมดแรงสิ้นสติ และได้จากเราไป เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 ด้วยโรคเบาหวานด้วยอาการสงบนิ่ง ในเวลา 23.00 น. เศษ ณ โรงพยาบาลประจำจังหวัดชัยนาท รวมศิริอายุ 68 ปี ) ถึงแม้ท่านจะจากไปแต่อิทธิวัตถุมงคลของท่านยังแสดงกฤติยานุภาพให้เห็นอยู่เนือง คนพื้นที่จึงหวงแหนกันนักหนา คนพื้นที่ใกล้เคียงก็เริ่มเสาะหาของของท่านไว้ติดตัวไปตามๆกัน ท่านเป็นพระที่ทรงบารมีมากท่านหนึ่ง ด้วยว่างาช้างทั้งของหลวงพ่อเดิมและหลวงพ่อรุ่งก็ตกอยู่แก่ท่านจำนวนไม่น้อย วัตถุมงคลยุคต้นๆของท่าน ด้วยความเป็นผู้รู้รัตตัญญูในพระคุณครูบาอาจารย์ท่านจึงมักนำไปให้ครูบาอาจารย์ของท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วยเสมอ สิ้นหลวงพ่อรุ่ง หลวงพ่อเดิมแล้ว ก็ยังมีหลวงพ่อพรหม ลพ.โอด ลพ.โอ สามท่านนี้จะได้รับความนับถือจากท่านมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะหลวงพ่อโอ ซึ่งทั้งเป็นศิษย์ร่วมสำนักอาวุโสและรวมถึงเป็นครูบาอาจารย์ของท่านอีกท่านหนึ่งด้วย และด้วยระยะทางไม่ห่างกันมากนักจึงได้มักไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ หางน้ำสาครและหางน้ำหนองแขมจึงเป็นเสมือนหนึ่งบ้านพี่เมืองน้อง ด้วยความแน่นแฟ้นเช่นนั้นจึงได้สมญานามว่า สิงห์เหนือเสือใต้แห่งคุ้งอู่ตะเภา
          ส่วนหนึ่งต้องขอกล่าวขอบพระคุณข้อมูลประวัติจากเวป พระเครื่องเมืองชัยนาท ไว้ ณ ที่นี้

พุทธศักราช 2492 หลวงพ่อสดก็ได้เดินทางกลับมาอยู่วัดหางน้ำสาครตามเดิม ได้มาจัดการร่วมมือร่วมใจพร้อมกรรมการวัดถากถางสร้างวัดใหม่ที่ดงหลังบ้านหางน้ำสาคร ขนานนามว่าวัดป่าเรไร หางน้ำสาคร มีพระที่อยู่จำพรรษา 3 องค์ ด้วยกันคือ 1.หลวงพ่อเอี่ยม 2.หลวงพ่อสด 3.พระเทียน
ต่อมาปีพุทธศักราช 2491 ได้เริ่มสร้างโรงเรียนประชาบาล ขึ้นหนึ่งหลังและร่วมมือกับหลวงพ่อเอี่ยม สร้างสะพานข้ามแม่น้ำหน้าวัดหางน้ำสาคร สร้างสำเร็จภายใน 3 ปี ขอย้อนหลังไปเมื่อสร้างสะพาน เข้าปีที่ 2 ครั้งนั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นขณะที่ช่างผู้มีฝีมือดี ตีตะปูกระเด็นกระดอนไม้ที่รองงานและรองนั่งเลื่อนโครมคราม ทำให้ตะปูทั้งกล่องล่วงตกลงไปในน้ำ คนงานเงียบเจ้าของงานคือ หลวงพ่อสดผู้เรืองวิชาศิษย์ของหลวงปู่รุ่ง ได้หยุดนิ่งไปชั่วขณะคนงานและภิกษุได้ทำงานรวมกันอยู่ต่างมองหน้าสบสายตากัน นึกอยู่ในใจตามๆ กันว่าทำไมหลวงพ่อสดจึ่งนิ่งเฉยไม่พูดอะไรเลย ประมาณ 1 นาที แล้วหลวงพ่อพูดออกมาว่า เอ้ย...! พวกเราจะไปวิตกอะไรกันเดี๋ยวต้องใช้ตะปูรังนี้ให้หมดก่อน ยังไม่ต้องไปเอาใหม่ คนงานตอบหลวงพ่อสดว่ากล่องนี้ล่วงลงน้ำไปหมดแล้วนี่ครับ ไม่ไปเอามาใหม่จะเอาที่ไหนใช้เล่าครับ หลวงพ่อสดตอบว่าพวกเราอย่าเขลาซิ เดี๋ยวมันก็ลอยขึ้นมาเองหรอกน่า คนงานนิ่งกันทั้งหมดพอสักครู่หนึ่ง ตะปู ค้อน กล่องนั้นลอยขึ้นมาอย่างปาฏิหาริย์ พระภิกษุและคนงานตื่นเต้นกันยกใหญ่ โดดไปเอากล่องตะปู ที่ลอยขึ้นมาใช้งานต่อ อันนี้เป็นปฐมวิชาอาคมของ หลวงพ่อสด เป็นที่กล่าวขวัญของปวงประชาชนที่เลื่องลือว่าหลวงพ่อสด เสกตะปูลอยน้ำได้
ส่วนปฏิปทาปาฏิหาริย์ในองค์ท่านนั้นมากมายศิษย์ใกล้ชิดและคนในแถบพื้นที่ต่างยอมรับนับถือ แม้ในงานพิธีพุทธาภิเษกระดับประเทศก็มักจะปรากฎชื่อของหลวงพ่ออยู่ด้วยเสมอ มีอยู่คราวหนึ่งในงานเสกพระหลวงพ่อโมพิธีนั้นมีคณาจารย์เรืองเวทย์หลายท่าน เช่นหลวงพ่อแพ ลพ.กวย ลพ.จวน และลพ.สด เป็นต้นงานในครั้งนั้นกล่าวกันว่าสายสิญจ์ที่ใช้เสกพระคล้ายกับมีกระแสไฟฟ้าวิ่ง
พุทธศักราช 2493 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหางน้ำสาครและเป็นครูฝึกอบรมสั่งสอนปริยัติธรรมแผนกธรรมท่านได้สั่งสอนภิกษุและสามเณรด้วยตนเองอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย พุทธศักราช 2506 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูวิจิตรชัยการ
มาในระยะหลังนี้สุขภาพของท่านไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก ท่านมีโรคประจำตัว คือ โรคเบาหวาน ท่านให้นายแพทย์โรงพยาบาลประจำจังหวัดได้ถวายการพยาบาลรักษาด้วยดีตลอดมา แต่โรคนั้นก็มีแต่ทรงและภายหลังก็ทรุดลงอีก ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหลายครั้งหลายคราว ในครั้งสุดท้ายท่านหมดแรงสิ้นสติ และได้จากเราไป เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 ด้วยโรคเบาหวานด้วยอาการสงบนิ่ง ในเวลา 23.00 น. เศษ ณ โรงพยาบาลประจำจังหวัดชัยนาท รวมศิริอายุ 68 ปี ) ถึงแม้ท่านจะจากไปแต่อิทธิวัตถุมงคลของท่านยังแสดงกฤติยานุภาพให้เห็นอยู่เนือง คนพื้นที่จึงหวงแหนกันนักหนา คนพื้นที่ใกล้เคียงก็เริ่มเสาะหาของของท่านไว้ติดตัวไปตามๆกัน ท่านเป็นพระที่ทรงบารมีมากท่านหนึ่ง ด้วยว่างาช้างทั้งของหลวงพ่อเดิมและหลวงพ่อรุ่งก็ตกอยู่แก่ท่านจำนวนไม่น้อย วัตถุมงคลยุคต้นๆของท่าน ด้วยความเป็นผู้รู้รัตตัญญูในพระคุณครูบาอาจารย์ท่านจึงมักนำไปให้ครูบาอาจารย์ของท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วยเสมอ สิ้นหลวงพ่อรุ่ง หลวงพ่อเดิมแล้ว ก็ยังมีหลวงพ่อพรหม ลพ.โอด ลพ.โอ สามท่านนี้จะได้รับความนับถือจากท่านมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะหลวงพ่อโอ ซึ่งทั้งเป็นศิษย์ร่วมสำนักอาวุโสและรวมถึงเป็นครูบาอาจารย์ของท่านอีกท่านหนึ่งด้วย และด้วยระยะทางไม่ห่างกันมากนักจึงได้มักไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ หางน้ำสาครและหางน้ำหนองแขมจึงเป็นเสมือนหนึ่งบ้านพี่เมืองน้อง ด้วยความแน่นแฟ้นเช่นนั้นจึงได้สมญานามว่า สิงห์เหนือเสือใต้แห่งคุ้งอู่ตะเภา

ออฟไลน์ yod

  • สมาชิก
  • **
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 93
  • พลังน้ำใจ 0
โอโฮผมรอดมาก็หลายครั้งเพราะหลวงพ่อสดแต่ก็พึ่งจะรู้ประวัติท่านขอบคุณครับ

ออฟไลน์ ฝุ่นดิน

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 2
  • กระทู้: 668
  • พลังน้ำใจ 2
  • ฝุ่นดินท้องถิ่นนิยม 084-7208460
สมเด็จและเหรียญรุ่นแรก พระยุคแรกๆของท่านว่ากันว่าหลวงพ่อพรหม หลวงพ่อโอด หลวงพ่อโอ ร่วมเสก

ออฟไลน์ ฝุ่นดิน

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 2
  • กระทู้: 668
  • พลังน้ำใจ 2
  • ฝุ่นดินท้องถิ่นนิยม 084-7208460
รูปหล่อปั๊มรุ่นแรก และหล่อโบราณรุ่นสอง

ออฟไลน์ ฝุ่นดิน

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิก
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 2
  • กระทู้: 668
  • พลังน้ำใจ 2
  • ฝุ่นดินท้องถิ่นนิยม 084-7208460
เหรียญขวัญถุงรุ่น 2 ปี 12
เหรียญรุ่น 3 ปี 18

กระดานสนทนาเว็บไซต์ ศิษย์หลวงพ่อกวย


 


Facebook Comments